i-Synes.com

ตะกร้า 0

บัตรชิปการ์ด หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด

บัตรชิปการ์ด หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด

บัตรสมาร์ทการ์ดถูกนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้แก่ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร ATM บัตรโดยสารรถไฟฟ้า บัตร Easy Pass ใบขับขี่ บัตรนักเรียนนักศึกษา บัตรห้องสมุด บัตรสมาชิก บัตรสะสมคะแนน บัตรของขวัญ ภาครัฐ: บัตรประชาชน บัตรประกันสุขภาพ...


 

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ผลักดันให้มีการเปลี่ยน บัตรเดบิต และ บัตรเครดิต ที่เป็นชนิด บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Card) มาเป็น บัตรชิปการ์ด (Chip card) ที่มีการฝังชิปไว้บนบัตร ในตัวชิปนี้บันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยชิปนี้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าบัตรแถบแม่เหล็กถึง 80 เท่า และมีความปลอดภัยสูง ป้องกันการจารกรรมข้อมูล และปลอมแปลงบัตร ได้ดีขึ้นกว่าเดิม ถูกนำมาใช้แทนบัตรแถบแม่เหล็ก สำหรับทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยสูงและมีข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บัตรรถไฟฟ้าบีทีเอส บัตรเติมเงิน บัตรเข้าออกอาคาร บัตร ATM และบัตรชำระเงินประเภทอื่น ๆ มักใช้บัตรประเภทนี้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เพื่อทำหน้าที่เป็นเอกสารได้ เช่น หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ และวีซ่า เป็นต้น แล้วทีเรียกว่า บัตรชิปการ์ด หรือที่บางคนเรียกว่า สมาร์ทการ์ด (Smart Card) เป็นอย่างไร เราตามไปดูกัน

บัตรซิมการ์ดมือถือ บัตรเดบิต และ บัตรเครดิต

บัตรซิมการ์ดมือถือ บัตรเดบิต และ บัตรเครดิต
บัตรชิปการ์ด (Chip Card) หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card) คือ บัตรพลาสติคที่ฝังไมโครชิป (Micro Chip) หรือบางที่อาจเรียกว่า บัตรสมาร์ทการ์ด แบบสัมผัส (Contact Card) โดยชิปแบบสัมผัสมีไว้สำหรับเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ มีให้บริการในรูปแบบ บัตรซิมการ์ดมือถือ บัตรเดบิต (Debit Card) และบัตรเครดิต (Credit Card) ฯลฯ ภายในชิปการ์ดมีหน่วยความจำและหน่วยประมวลผล ที่ช่วยให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยเทคโนโลยีชิพการ์ดนั้นเป็นไปตามมาตรฐาน EMV (Europay MasterCard and VISA) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่งผู้ให้บริการเพียงมี เครื่องอ่านสมาร์ทการ์ด เชื่อมต่อกับเครือข่ายผู้ให้บริการการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตทั้ง ค่าย Visa และ Mastercard สามารถทำธุรกรรมการเงินได้สะดวกและปลอดภัย

บัตรชิปการ์ด ไมโครชิป (Micro Chip)

บัตรชิปการ์ด ไมโครชิป (Micro Chip)
บัตรชิปการ์ด เป็นบัตรที่มีการฝังชิปการ์ดขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครชิป (Micro Chip) เอาไว้ที่ด้านหน้าบัตร เมื่อผู้ใช้เสียบบัตรชิปการ์ดเข้าไปใน เครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ด แล้ว มันจะสัมผัสกับหัวอ่าน ซึ่งจะทำการส่งถ่ายข้อมูลเข้าและออกจากไมโครชิป (Micro Chip) ไปยังระบบผู้ให้บริการ บัตรชิปการ์ด กำลังเข้ามาแทนการใช้ บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) ชิปตัวเล็กๆ ที่ฝังอยู่ในบัตรนั้นสามารถเก็บข้อมูลส่วนตัว ประวัติการทำธุรกรรม ได้หลากหลายและมีความปลอดภัย ได้ถูกนำมาใช้ทำเป็น ใบขับขี่รถ บัตรพนักงาน บัตรสมาชิก บัตรส่วนลด บัตรสะสมคะแนนต่างๆ ยังสามารถใช้เป็นบัตรโดยสารรถไฟฟ้า (BTS) และสะสมคะแนนแรบบิท รีวอร์ด พ้อยท์ ได้อีกด้วย ข้อมูลการใช้งานหรือการสะสมแต้ม จะถูกเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ใน หน่วยความจำของชิปอัจฉริยะเพียงตัวเดียว ข้อมูลไม่เพียงถูกจัดเก็บ แต่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงหรืออัปเดตข้อมูล ในหน่วยความจำของชิปผ่านช่องทางที่ปลอดภัย

ชิพการ์ด เก็บข้อมูลได้เยอะ และ ปลอดภัย

ชิพการ์ด เก็บข้อมูลได้เยอะ และ ปลอดภัย
ไมโครชิป (Micro Chip) หรือ ชิพการ์ด ทำหน้าที่ต่างจากแถบแม่เหล็ก คือชิปการ์ดนี้สามารถเก็บและประมวลผลข้อมูลในเวลาเดียวกัน ขณะที่แถบแม่เหล็กเก็บข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว โดยตัวชิปการ์ดสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแถบแม่เหล็กที่บัตรชำระเงินทั่วไปถึง 80 เท่า บัตรใบเดียวกันสามารถใช้งานได้ในหลายลักษณะในเวลาเดียวกัน แล้วการใช้บัตรสมาร์ทการ์ดชำระเงิน ยังเป็นวิธีการที่ให้ความปลอดภัยมากที่สุด ระบบชิปการ์ดสามารถป้องกัน การถูกโจรกรรมคัดลอกข้อมูลในบัตรฯ (Skimming) และลดอัตราการปลอมแปลงบัตร (Counterfeit Card Fraud) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทุกครั้งที่เราใช้งานบัตรแบบชิปการ์ดนั้น นอกจากต้องทำธุรกรรมผ่านเครื่องที่มีเทคโนโลยีรองรับชิปการ์ดแล้ว เครื่องนั้นยังต้องเข้ารหัสและถอดรหัสบัตรจากชิปนั้นได้ด้วย จึงถือว่าการทำธุรกรรมในแต่ละครั้งสำเร็จ เมื่อฝังข้อมูลลงไปแล้วไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้อย่างง่ายดาย ซึ่งต้องสามารถอัปเดตผ่านช่องทางที่ปลอดภัยเท่านั้น ต่างจากระบบแถบแม่เหล็กที่ทำหน้าที่เพียงแค่อ่านและส่งข้อมูลบัตรไปในทันที

บัตรพลาสติค (Plastic Card) ติดปีก ไมโครชิป

บัตรพลาสติค (Plastic Card) ติดปีก ไมโครชิป
ขนาดของบัตรชิปการ์ดถูกกำหนดโดยมาตรฐานระหว่างประเทศ คือ มาตรฐาน ISO 7816 Class A,B,C โดยมาตรฐานนี้ยังได้กำหนดถึงคุณลักษณะทางกายภาพของพลาสติคที่นำมาใช้ทำบัตรสมาร์ทการ์ดด้วย เช่น ความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ และความยืดหยุ่นตัวในการใช้งาน ตำแหน่งของหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าและการทำงานของมัน ตลอดจนกำหนดว่าการติดต่อระหว่างไมโครชิป (Micro Chip) กับ เครื่องอ่านบัตร ชิปการ์ด เป็นอย่างไรอีกด้วย บัตรชิปการ์ดที่ถูกนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้แก่

การเงินและการธนาคาร: บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร ATM
การขนส่ง: บัตรโดยสาร บัตร Easy Pass
การศึกษา: บัตรนักเรียน/นักศึกษา บัตรห้องสมุด
ธุรกิจและการค้า: บัตรสมาชิก บัตรสะสมแต้ม บัตรของขวัญ
ภาครัฐ: บัตรประชาชน บัตรประกันสุขภาพ

บัตรชิปการ์ด ชำระเงินปลอดภัย

บัตรชิปการ์ด ชำระเงินปลอดภัย
เนื่องจากข้อมูลถูกเก็บไว้ในชิปการ์ดที่ป้องกันการถูกคัดลอกข้อมูลหรือสกิมมิ่ง และการโจรกรรมข้อมูลจากบัตร ทำให้การคัดลอกข้อมูลทำได้ยากกว่าบัตรแถบแม่เหล็ก ชิพการ์ดช่วยป้องกันมิให้มีการปลอมแปลงบัตร นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มรหัสพิน (PIN) หมายเลขรหัสเฉพาะส่วนบุคคล จากเดิมที่บัตรแถบแม่เหล็กใช้ 4 หลัก เป็น 6 หลัก เป็นการระบุตัวผู้ถือบัตรเป็นการเฉพาะและป้องกันมิให้บัตรถูกนำไปใช้โดยบุคคลอื่นหากบัตรนั้นสูญหายหรือถูกขโมย เรียกว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล บัตรชิปการ์ด ช่วยสนับสนุนในเรื่องการจับจ่ายชำระเงินผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยเงินสดหรือเครดิต การซื้อหรือชำระค่าบริการเพียงเสียบบัตรกับ เครื่องอ่านบัตร ชิปการ์ด ก็สามารถชำเงินได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยระบบป้องกันข้อมูลมาตรฐานสากล เทคโนโลยีชิพการ์ดถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในยุโรปและเอเชีย และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงมากในการช่วยลดการทุจริต

Cr.วารสาร ไมโครคอมพิวเตอร์,Money Hub,ไทยพริ้นช็อป,รอยัล เปเปอร์,Visa,Mastercard,