i-Synes.com

ตะกร้า 0

“ดัชนีความร้อน” อุณหภูมิความร้อน ที่ร่างกายรับรู้จริง

“ดัชนีความร้อน” อุณหภูมิความร้อน ที่ร่างกายรับรู้จริง

ความชื้นในอากาศ หรือ ความชื้นสัมพัทธ์” (Humidity) มีบทบาทสำคัญต่อ การระบายความร้อน ในร่างกายมนุษย์ ผ่านทางเหงื่อ หากเราอยู่ใน สภาพแวดล้อม ที่มีอากาศร้อน แต่มี ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ ประมาณ 40-45% ร่างกายจะขับเหงื่อ ให้ระเหยออกมาได้ดี.....


 

 

ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ ฤดูฝน อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ แต่หลายพื้นที่ เรายังคงได้สัมผัสกับ ความร้อนอย่างต่อเนื่อง และที่ผ่านมา เราได้รับฟังและติดตาม การรายงานสภาพอากาศ และ ค่าชี้วัดความร้อน ที่เราได้ยินบ่อย นั่นคือ “ดัชนีความร้อน” จากการ รายงานสภาพอากาศ ของหน่วยงานต่างๆ ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา นอกจากรายงาน บอกตัวเลข อุณหภูมิอากาศ ในแต่ะช่วงของวัน หลายคนสงสัยคำว่า “ดัชนีความร้อน” ผ่านๆ มา คำนี้ มีความหมายแท้จริง ว่าอย่างไรกันบ้าง ?

ดัชนีความร้อน หมายถึงอะไร ?

ดัชนีความร้อน หมายถึงอะไร ?
“ดัชนีความร้อน” (Heat Index) คือ อุณหภูมิที่ร่างกายมนุษย์ ตามความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิของอากาศและความชื้น รับรู้ได้ว่า ในขณะนั้น อากาศร้อนเป็นอย่างไร ซึ่งอาจจะรู้สึกร้อนกว่า อุณหภูมิ ที่ปรากฏในขณะนั้น ซึ่งอาศัยผลวัด ทางวิทยาศาสตร์ โดยนำค่าอุณภูมิของอากาศ ที่ตรวจวัดได้จริง และ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ มาวิเคราะห์หาค่า ที่เป็น ตัวแทนของอุณหภูมิ ณ ที่ร่างกายมนุษย์ รับรู้ความร้อน ในสภาวะอากาศขณะนั้น ซึ่งค่าดัชนีดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อระบุความเสี่ยง ที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบ จากความร้อนนั่นเอง

% ความชื้นในอากาศเท่าไร รู้สึกสบายตัว ?

% ความชื้นในอากาศเท่าไร รู้สึกสบายตัว ?
ความชื้นในอากาศ หรือ ความชื้นสัมพัทธ์” (Humidity) มีบทบาทสำคัญต่อ การระบายความร้อน ในร่างกายมนุษย์ ผ่านทางเหงื่อ หากเราอยู่ใน สภาพแวดล้อม ที่มีอากาศร้อน แต่มี ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ ประมาณ 40-45% ร่างกายจะขับเหงื่อ ให้ระเหยออกมาได้ดี เมื่อมีลมพัดปะทะตัว ก็จะรู้สึกเย็นสบายอีกด้วย แต่หากมากเกินไป เราจะรู้สึกอึดอัด

ความชื้นในอากาศสูง รู้สึกร้อนกว่าปกติ จริงไหม ?

ความชื้นในอากาศสูง รู้สึกร้อนกว่าปกติ จริงไหม ?
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ มีมากถึง 80-90% ขึ้นไป ความชื้นที่หนาแน่นระดับนี้ จะทำให้ร่างกาย ไม่สามารถ ระบายเหงื่อออกได้เป็นปกติ แต่กลับทำให้ เหงื่อออกเป็นหยด จนเปียกชื้นไปตามตัว อุณหภูมิในร่างกาย ก็ไม่ลดลง แถม ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น อีกต่างหาก ระดับความชื้นสัมพัทธ์ ที่สูงขึ้น ส่งผลโดยตรงให้ ค่าดัชนีความร้อน (ร่างกายรับรู้ ความร้อน) สูงกว่า อุณหภูมิที่แท้จริง สามารถหาค่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ได้จาก เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

ค่าดัชนีความร้อน สัมพันธ์กับ ความชื้นในอากาศ

ค่าดัชนีความร้อน สัมพันธ์กับ ความชื้นในอากาศ
ตัวอย่างเช่น เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ มีค่าร้อยละ 40 เท่ากันทั้งสองค่า ณ อุณหภูมิ ที่ 27 องศาเซลเซียส (80 องศาฟาเรนไฮต์) ค่าดัชนีความร้อน จะมีค่าใกล้เคียง อุณหภูมิที่แท้จริง แต่ถ้าพิจารณาที่ อุณภูมิ 43 องศาเซลเซียส (110 องศาฟาเรนไฮต์) ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 40% เท่ากัน ค่าดัชนีความร้อน ที่อ่านได้จะสูงกว่า อุณหภูมิที่แท้จริง คือ 58 °C (136 °F) จึงทำให้ร่างกายมนุษย์ รู้สึกร้อนกว่าปกติ ที่วัดได้จาก เครื่องวัดอุณภูมิจริง เมื่อความร้อนในอากาศสูงขึ้น อาจส่งผลโดยตรงต่อ สุขภาพของมนุษย์ โดยตรง

ดูแลสุขภาพ ดูที่ “ดัชนีความร้อน” แทน อุณภูมิ

ดูแลสุขภาพ ดูที่ “ดัชนีความร้อน” แทน อุณภูมิ
ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา สำหนักข่าวหลายแห่ง รายงานว่า มีประชาชน ได้รับผลกระทบจาก ดัชนีความร้อน ในหลายพื้นที่ ทำให้เกิด โรคลมแดด หรือ Heat Stroke ซึ่งบางรายรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกประกาศเตือน ให้ประชาชนติดตาม การรายงาน ค่าดัชนีความร้อน และ ดูแลตัวเองและสมาชิกในบ้าน ให้ปลอดภัย จากสภาพอากาศ ที่ร้อนระอุ โดยได้แบ่งระดับความรุนแรงของ ค่าดัชนีความร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพไว้ 4 ระดับ ดังนี้

ค่าดัชนีความร้อน

ค่าดัชนีความร้อน 27-32 °C
จัดเป็นระดับสีเขียว คือ ระดับเฝ้าระวัง ถ้าทำงานหรือ ออกกำลังกายกลางแจ้ง ท่ามกลางอากาศร้อน ระดับนี้ จะรู้สึกปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ

ค่าดัชนีความร้อน 32-41 °C
จัดเป็นระดับสีเหลือง ระดับเตือนภัย เกิดอาการตะคริว จากความร้อน และ อาจเกิด อาการเพลียแดด ถ้าสัมผัสอากาศร้อน เป็นเวลานาน

ค่าดัชนีความร้อน 41-54 °C
จัดเป็นระดับสีส้ม มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้องและไหล่ ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเป็นลมแดดได้

ค่าดัชนีความร้อน 54 °C ขึ้นไป
จัดเป็นระดับสีแดง ระดับอันตรายมาก เกิดภาวะลมแดด ตัวร้อน ตัวร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง ระบบอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว อาจเสียชีวิตได้ ถ้าสัมผัสอากาศร้อนมาก ติดต่อกันหลายวัน

นอกจากนี้ อากาศร้อน ยังส่งผลต่อ สุขภาพของสัตว์เลี้ยง อย่างสุนัขและแมว ได้เช่นกัน ดังนั้น เจ้าของสัตว์เลี้ยง ควรงด พาสุนัขและแมว ไปทำ กิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงกลางวัน ให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ร่ม หรือ ในบ้านตลอดเวลา และ เพิ่มปริมาณน้ำ ให้สัตว์เลี้ยง ดื่มน้ำมากขึ้น

Cr.ณภัทรดนัย,NATIONAL GEOGRAPHIC,เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น