i-Synes.com

ตะกร้า 0

เครื่องสแกนบาร์โค้ด รุ่นไหนดี ?

เครื่องสแกนบาร์โค้ด รุ่นไหนดี ?

เครื่องสแกนบาร์โค้ด รุ่นไหนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ร้านค้าปลีกและโรงงานต่าง ๆ สะดวกในการเช็คยอดขายและส่งข้อมูลตัดสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติเพียงแค่สแกนบาร์โค้ด ทำให้เครื่องยิงบาร์โค้ด เป็นที่นิยมในร้านสะดวกซื้อทั่วไป ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ขนส่ง...


 

เครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า นำมาใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ต่าง ๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องจักรและ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ เป็นต้น ด้วยวิธีการอ่านแท่งบาร์โค้ด ด้วยการสแกนบาร์โค้ด แล้วนำไปประมวลผล เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ด้วยคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงจะส่งต่อให้ระบบ ช่วยประสิทธิภาพด้านความรวดเร็วและความแม่นยำในการทำงาน ลดการเกิดข้อผิดพลาดและลดความล่าช้าจากการทำงานโดยแรงงานคนในการพิมพ์ข้อมูลต่างๆเข้าสู่ระบบ

 รหัสแท่งบาร์โค้ด

รหัสแท่งบาร์โค้ด
บาร์โค้ด ( Bar Code ) คือ สัญญลักษณ์รหัสแท่ง ที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลข มีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลอาศัยหลักการสะท้อนแสงและการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เพื่ออ่านข้อมูลรายละเอียดสินค้าเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องผ่านการกดปุ่มแป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก การนำเข้าข้อมูลจากสแกนบาร์โค้ดรหัสแถบของสินค้า เป็นวิธีที่รวดเร็วและความถูกต้องแม่นย่ำ ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้ดี การใช้บาร์โค้ดลดเวลาและเพิ่มความรวดเร็วการนำข้อมูลไปใช้งานทันสมัยต่อเหตุการณ์

บาร์โค้ด 1 มิติ (1D Code Reading)

บาร์โค้ด 1 มิติ (1D Code Reading)
บาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นแถบที่ประกอบด้วยเส้นสีดำและสีขาว สามารถใช้แทนรหัสตัวเลข หรือ ตัวอีกษรได้ประมาณ 20 ตัวอักษร ซึ่งบาร์โค้ด 1 มิติ มีด้วยกันหลายชนิด เช่น UPC EAN-13 ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วนั้น บาร์โค้ดชนิดนี้ พบเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้า หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต

  • EAN 13 (European Article Numbering) เป็นแบบบาร์โค้ดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก และ เป็นบาร์โค้ดมาตรฐานสากล ที่เราต้องไปขึ้นทะเบียนกับ GS1 เป็นตัวเลขชุด 13 หลัก นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ
  • Code 39 และ Code 128 เป็นบาร์โค้ดที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียน ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน สามารถนำมาใช้ได้ฟรีกับสินค้าทั่วไป บาร์โค้ดแบบนี้ เป็นรหัสที่ไม่กำหนดจำนวนหลัก ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องอ่านบาร์โค้ด และ ไม่จำเป็นต้องมีตัวเลขในการตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด สามารถแสดงได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร รวมถึงอักขระพิเศษ (ASCII)

บาร์โค้ด 2 มิติ (2D Code Reading)

บาร์โค้ด 2 มิติ (2D Code Reading)
บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีหลายประเภท อาทิ เช่น QR Code, Micro QR Code, Data Matrix,GS1 databar, PDF417, Micro PDF 417,Aztec ฯลฯ โดยแต่ละประเภทมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่ รหัสคิวอาร์ (QR Code), ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix), รหัสอีซี (EZcode), รหัสแอซเทค (Aztec Code), เอ็มเอสแท็ก (MS Tag), และ บาร์โค้ดสองมิติ จากไมโครซอฟท์ ใช้งานโดยใช้ เครื่องสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่ออ่านบาร์โค้ดสองมิติ และ บาร์โค้ด 1 มิติ

ประเภทเครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner)

ประเภทเครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner)
เครื่องสแกนบาร์โค้ดสามารถจัดแยกประเภทได้ตามชนิดของหัวอ่าน ได้แก่ CCD, Laser, Omnidirectional และ Imager โดยจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันในด้านการใช้งาน ดังนี้

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบ CCD (CCD Scanner)

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบ CCD (CCD Scanner)
มีลักษณะเครื่องเป็นตัวปืน มีข้อดีคือสามารถใช้ในงานกลางแจ้งหรือบริเวณที่มีแสงสว่างมากได้ดี แต่ข้อเสียคือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่าน CCD นั้นสามารถยิงได้ในระยะที่ไม่ห่างเกิน 1 นิ้ว แต่เดียวนี้มีแบบชนิด Long Distance CCD สแกนบาร์โค้ดในระยะทางที่ไกลกว่า เครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner) รุ่นเก่า เครื่องยิงบาร์โค้ด แบบ Long Distance CCD สามารถสแกนบาร์โค้ดที่กว้างกว่าผิวหน้าของตัวเครื่องได้ ใช้งานได้ง่ายอย่างเหลือเชื่อ แบบ Plug And Play แค่เสียบสาย USB เข้ากับเครื่องคอมก็สามารถเปิดใช้งานได้ทุกโปรแกรมที่มีเคอร์เซอร์กระพริบอยู่ เช่น Notpad, Wordpad, Excel ฯลฯ แถมยังสามารถอ่านแท่งบาร์โค้ดบนมือถือได้อีกด้วย

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ (Laser Scanner)

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ (Laser Scanner)
เครื่องยิงบาร์โค้ด ชนิดเลเซอร์ มีความเข้มแสงสูง จึงช่วยให้มีความแม่นยําและความไวสูง สามารถอ่านได้ในระยะไกลๆ ไม่ต้องแนบกับตัวบาร์โค้ด สแกนระยะไกลได้ สูงสุดได้ถึง 60-80 ซม. ใช้งานง่ายเพียงคุณเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านคอมพิวเตอร์ทั่วไป แล้วยิงบาร์โค้ด ข้อมูลจะถูกส่งเข้าโปรแกรมต่างๆ ที่คุณเปิดทิ้งไว้ทันที เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)ชนิดมีทั้งรูปแบบการติดตั้งอยู่กับที่และรูปแบบพกพาเคลื่อนย้ายได้ สามารถอ่านข้อมูลของบาร์โค้ดได้ในระยะที่ห่างค่อนข้างมาก มีหลักการใช้โดยการฉายแสงเลเซอร์ออกเป็นเส้นตรงขนาดเล็กเป็นเส้นเดียวไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ และมีความถี่เดียว ผ่านกระจกให้ไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดแล้วจึงจะสามารถอ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมายังตัวรับแสงได้ หลักการดังกล่าวจึงทำให้เครื่องอ่านชนิดนี้สามารถสแกนบาร์โค้ด รหัสที่มีขนาดเล็กได้ดีและมีประสิทธิภาพ

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายทิศทาง (Omni directional Scanner)

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายทิศทาง (Omni directional Scanner)
รุ่นนี้เป็นเครื่องยิงบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ใช้หลักการทำงานเหมือนกับชนิด Laser scanner ต่างกันเพียงแบบเลเซอร์ชนิดนี้ฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายทิศทางตัดกันไปมา เหมือนมีตัวสแกนบาร์โค้ดหลายตัวในเครื่องเดียว อ่านบาร์โค้ดบนสินค้าหลายทิศทาง เหมาะกับการสแกนบาร์โค้ดที่ไม่ได้ทำการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ลักษณะและคุณสมบัติดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้ จึงทำให้มีเครื่องอ่านมีราคาที่ค่อนข้างสูง นิยมใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่ต้องการความรวดเร็ว ลดการรอคิวนาน

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบประมวลผลภาพถ่าย (Imager Scanner)

เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบประมวลผลภาพถ่าย (Imager Scanner)
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด อ่านบาร์โค้ดบนมือถือ หรือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ ด้วยเทคโนโลยี Linear Imaging Scanner อ่านรหัสบาร์โค้ดได้จากหลายทิศทางในครั้งเดียว สามารถสแกนบาร์โค้ดที่คุณภาพการพิมพ์ต่ำได้ อ่านบาร์โค้ดได้ไวมากถึงแม้นบาร์โค้ดชำรุด หรือ พิมพ์ออกมาไม่ดีพอ ก็สามารถอ่านได้ สแกนได้ทุกทิศทาง 360 องศา ไม่จำเป็นต้องจับป้ายให้ตรงกับบาร์โค้ด นอกจากนี้ยัง อ่านบาร์โค้ดในขณะที่ห้องมีแสงสว่างจ้าได้ เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ใช้เทคโนโลยีการประมวลภาพที่ทันสมัย มีหลักการอ่านคือการจับภาพของแท่งบาร์โค้ด แล้วถอดรหัสบาร์โค้ดทันที ทำให้อ่านง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถอ่านระยะที่ไกลกว่ารุ่นอื่น ๆ และที่สำคัญเครื่องอ่านชนิดนี้สแกนบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ แต่ความเร็วในการประมวลผลข้อมูลอาจจะล่าช้ากว่าเครื่องยิงบาร์โค้ดแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย

บาร์โค้ด ลดเวลา ลดคน ลดการผิดพลาด

บาร์โค้ด ลดเวลา ลดคน ลดการผิดพลาด
ก่อนจะมีการนำรหัสบาร์โค้ดมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ร้านค้าปลีก โกดังสินค้าและโรงงานต่าง ๆ ต้องใช้พนักงานป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับของและจำหน่ายออก ตลอดจนใช้พนักงานในการเดินนับสินค้าในโกดัง จากนั้นนำมาหักลบกับยอดขายเพื่อทำบัญชีในการคำนวณสินค้าคงเหลือ มีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองทั้งเวลาและแรงงานคน ทั้งมีโอกาสเกิดความผิดพลาดหรือการทุจริตได้ง่าย ในปัจจุบันการตรวจรหัสสินค้าด้วย เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ให้ประโยชน์อย่างมาก เพราะความสะดวกในการเช็คยอดขายและส่งข้อมูลตัดสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติเพียงแค่สแกนบาร์โค้ด ทำให้เครื่องยิงบาร์โค้ด เป็นที่นิยมในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โกดังสินค้า การขนส่งและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เกิดการพัฒนาบาร์โค้ดจนกลายเป็นเวอร์ชั่น บาร์โค้ด 2 มิติ หรือที่เรียกว่า คิวอาร์โค้ด (QR code)

ประโยชน์ เครื่องยิงบาร์โค้ด (Barcode Reader)

ประโยชน์ เครื่องยิงบาร์โค้ด (Barcode Reader)
-ง่ายต่อการใช้งาน เครื่องยิงบาร์โค้ดใช้งานง่าย ติดตั้งได้รวดเร็ว เนื่องจากทำงานโดยใช้ไดรเวอร์ที่เรียบง่าย และ ตั้งโปรแกรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
-ลดการผิดพลาดของคน ที่เกิดจากการคีย์ข้อมูลและตัวเลขจากแป้นพิมพ์ แต่ เครื่องยิงบาร์โค้ด ช่วยได้ แค่สแกนบาร์โค้ด ข้อมูลรหัสก็เข้าเครื่องฯ ได้ครบถ้วนถูกต้อง
-การค้นหาข้อมูลทำได้ง่าย โดยใช้ เครื่องยิงบาร์โค้ด สแกนบาร์โค้ด เพียงเสี้ยววินาที ข้อมูลทั้งหมดก็ปรากฏบนจอคอมฯ

 

Cr.ไชยเจริญเทค,True ปลูกปัญญา,P-solution,Sumipol