สแกน QR Code พลิกโลก แท็กซี่

“ง่ายแค่ปลายนิ้ว” ใช้มือถือสมาร์ตโฟน เป็นเสมือน เครื่องสแกนคิวอาร์โค้ด สแกน QR Code เพื่อโอนเงินช้อปปิ้งออนไลน์จ่ายเงินในตลาดสด, ตลาดนัด, โรงอาหาร, ร้านกาแฟ, แท็กซี่, รถเมล์ หรือกระทั่ง วินมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่ ก็ยังจ่ายได้เช่นกัน.....
QR Code ไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทยอีกต่อไป มาปฏิวัติพลิกโฉมลกแห่งการเงิน ของเราอย่างสิ้นเชิง อาศัยความสะดวกชักจูงให้คนรุ่นใหม่สู่สังคมไร้เงินสด ธนาคารใหญ่ทั้งหลายอัดแคมเปญโฆษณา บนหน้าจอทีวีและออนไลน์เพื่อดึงผู้ประกอบการและเจ้าของร้านค้าทั่วประเทศ ทั้งรายใหญ่รายย่อยเข้ามาเปิดใช้ QR Code ซึ่งสามารถผูกบัญชีธนาคารกับเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ได้มากกว่า 1 ธนาคารตามข้อกำหนดพร้อมเพย์ และได้รับอุปกรณ์เป็นป้าย QR Code ของร้านค้านั้นๆ ไว้ให้ลูกค้าแชะจ่ายเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวันอย่างสะดวก อย่างเช่นแม่มณี ของ SCB ที่มาตอบโจทย์ให้พ่อค้าผู้ประกอบการ แก้ปัญหาการที่ต้องมีเงินสดใบเล็กใบย่อยไว้เตรียมทอนลูกค้า แต่ตอนนี้ไม่ต้องกังวลว่าเงินสดที่ได้มาจะหายไป เพราะทุกอย่างจัดเก็บในระบบหมดแล้ว
พร้อมเพย์ (Prompt Pay) พร้อมแล้ว สำหรับคนไทย
ขณะที่มิติของคนซื้อสินค้าทั่วไปเรียกได้ว่า “ง่ายแค่ปลายนิ้ว” คำพูดนี้อธิบายได้อย่างเห็นภาพมากที่สุดแล้ว เพราะสามารถใช้มือถือ เป็นเสมือน เครื่องสแกนคิวอาร์โค้ด สแกน QR Code เพื่อโอนเงินช้อปปิ้งออนไลน์จ่ายเงินในตลาดสด, ตลาดนัด, โรงอาหาร, ร้านกาแฟ, แท็กซี่, รถเมล์ หรือกระทั่ง วินมอเตอร์ไซค์ รถแท็กซี่ ก็ยังจ่ายได้เช่นกัน การทำธุรกรรมทางการเงินที่เราไม่ต้องพกเงินสดให้กระเป๋าสตางค์ตุงกางเกงอีกต่อไป เราอาจมีแค่บัตรใบเดียว หรือใช้สมาร์ตโฟนเครื่องเดียว ทำธุรกรรมทางการเงินในทุกรูปแบบ การมุ่งไปใช้ e-Payment หรือบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดกันมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปิดตัวบริการโอนเงินและรับเงินที่เรียกว่า พร้อมเพย์ (Prompt Pay) อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยใช้แค่ เลขบัตรประชาชน หรือ เบอร์โทรศัพท์ทำธุรกรรมทางเงินกับธนาคารได้
SCB Easy พร้อมแล้ว สังคมไร้เงินสด
SCB ลุยลงพื้นที่ทำการตลาดเรื่องของ SCB Easy เพียงหยิบสมาร์ทโฟน ทำหน้าที่เหมือน เครื่องอ่าน QR Code สแกน QR Code จ่ายเงินได้ทันที ซึ่งล่าสุด นั่งแท็กซี่ ก็สามารถสแกนจ่ายเงินได้ง่ายๆ ถือเป็นการต่อยอดจากเดิมที่ SCB ได้ทำแคมเปญจ่ายเงินผ่าน Prompt Pay กับรถแท็กซี่มาก่อนแล้ว แต่ครั้งนี้สะดวกขึ้น เพราะสแกน QR Code จ่ายได้เลย บริการแรกที่คนกรุงเทพคุ้นเคย คือ บริการพี่วินมอเตอร์ไซค์ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์ หาแบงค์ย่อยไม่ได้ หรือต้องรอเงินทอน ยิ่งรีบยิ่งเสียเวลา SCB เลยจัด QR Code ให้พี่วินมอเตอร์ไซค์ เป็น Tag ห้อยคอไว้ เมื่อเดินทางถึงที่หมายก็ใช้ SCB Easy สแกนแล้วจ่ายเงินได้ทันที หลักการง่ายๆ คือ QR Code ของพี่วินมอเตอร์ไซค์ เปรียบเสมือนบัญชี PromptPay ผู้โดยสารสแกนแล้ว ใส่จำนวนเงินค่าเดินทาง โอนเงินจ่ายเข้าบัญชีของพี่วิน เป็นอันจบ
ธนาคารกรุงเทพ พร้อมจ่ายค่าแท็กซี่ ด้วย QR Code
ธนาคารกรุงเทพ ได้ร่วมมือกับ Smart Taxi จัดโครงการ “จ่ายแท็กซี่ง่ายๆ แค่สแกน QR Code” เพื่อสนับสนุนการบริการด้านชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสด สามารถทำรายการได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน โดยสามารถใช้งานกับแท็กซี่ในเครือข่าย Smart Taxi นอกจากนี้ธนาคารฯ มีแผนต่อยอดไปสู่จุดรับชำระเงินใหม่ๆ ร่วมกับบริการรถสาธารณะ ขยายไปสู่บริการรถสาธารณะประเภทอื่นๆ รวมถึงการชำระเงิน สำหรับค่าสินค้ากับบริษัทขายตรง และบริษัทจัดส่งสินค้า การบริจาคเงินผ่านวัด โรงพยาบาลหรือมูลนิธิต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็ขยายกลุ่มร้านค้าต่างๆ ให้หลากหลายและครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น ร้านค้าตามแหล่งชุมชน แหล่งท่องเที่ยว ทั้งรายย่อยและรายกลาง ไปจนถึงรายใหญ่ที่บางร้านมี เครื่องรับบัตรเครดิต อยู่แล้วก็สามารถพัฒนาให้รับชำระด้วยระบบ พร้อมเพย์ ได้ด้วย เพื่อเพิ่มทางเลือกการชำระเงินให้แก่ผู้บริโภค
ทรูมันนี่วอลเล็ท ขอร่วมด้วยคน
TrueMoney เปิดตัว แอปฯ ทรู ไรด์ (True Ryde) ไม่ใช่แอพพลิเคชั่นเรียกรถโดยสาร แต่เป็นโมบายเพย์เมนท์สำหรับผู้ขับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า ที่เป็นหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับเพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการให้กับ แท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ จากเดิมหากเราเรียกใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ ปัญหาที่ผู้ใช้และผู้ขับต้องเจอก็คือ ไม่มีเงินถอนหรือไม่ก็มีเงินไม่พอบ้าง ซึ่ง True Ryde เข้ามาแก้ตรงนี้ พร้อมยกระดับก้าวสู่สังคมไร้เงินสด True Ryde เป็นแอปพลิเคชันสำหรับฝั่ง คนขับแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ ด้วยการสร้าง QR Code ผ่านแอปฯ แต่อาจจะลำบากหน่อย ที่จำกัดเฉพาะผู้ใช้บริการที่มีทรูมันนี่วอลเล็ทเท่านั้น ไม่สามารถชำระผ่านแอปฯธนาคารได้ จากนั่นจึงใช้แอปฯ ทรูมันนี่วอลเล็ท สแกน QR Code แล้วกรอกจำนวนเงิน เพื่อชำระค่าบริการได้ทันที เพื่อสร้างความสะดวกสบายในยุค cashless society
Cr.ธนาคารไทยพาณิชย์,THE MOMENTUM,TrueMoney,ธนาคารกรุงเทพ,