4 วิธี จ่ายเงินไร้สัมผัส เลี่ยงโควิด-19
บริการออนไลน์ที่ทำให้เราสามารถจ่ายเงินผ่านกระเป๋าสตางค์อีเล็คทรอนิคส์ หรือที่เราเรียกว่า e-Wallet แทนเงินสดลดความเสี่ยงในการหยิบจับเงินสดลงไปได้ เช่น จ่ายผ่าน QR Code บนแอปธนาคาร บน เครื่องสแกน QR Code ของร้านค้า และบริการ e-Payment ต่างๆ .....
การสัมผัสธนบัตรเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิด โอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ โดยองค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการหยิบจับสัมผัสธนบัตรและเหรียญเพื่อใช้ซื้อสินค้า ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เนื่องจากธนบัตรและเหรียญถูกเปลี่ยนมือไปอย่างรวดเร็ว และอาจมีเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียติดอยู่เป็นเวลานานหลายวัน และในช่วงนี้ขอให้ประชาชน เปลี่ยนไปใช้จ่ายเงินออนไลน์หรือจ่ายผ่านบัตรเครดิตแทน
ร้านสะดวกซื้อ จ่ายด้วย สมาร์ทโฟน
แม้ว่าห้างสรรพสินค้านั้นจะเปิดตัวน้อยลงจากปีที่แล้วจากภาวะโควิด 19 แต่ทว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกหรือร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยกลับได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก งานนี้ต้องขอบคุณการเปิดรับอีคอมเมิร์ซผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ รวมทั้ง ช่องทางโซเชี่ยลมีเดียใหม่ๆที่ช่วยลดการสัมผัสแต่สามารถเพิ่มยอดขาย ร้านค้าออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ และไลน์ ตลาดค้าปลีกในไทยกำลังแสดงถึงสัญญาณตอบรับที่ดี พร้อมๆด้วยโครงการที่เพิ่มอัตราการเติบโตขึ้นมากขึ้น นับตั้งแต่คนไทยเริ่มตอบรับอีคอมเมิร์ซ ร้านค้าออนไลน์มากขึ้น ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านสมาร์ทโฟนและโมบายแบงกิ้ง
โมบายแบงกิ้ง & QR Code
ยิ่งในต่างประเทศ เราเห็นคนใช้เงินสดกันลดลง หันมาใช้โมบายแบงกิ้งด้วยบัตรเครดิตหรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟนกันมากขึ้น เช่น คนจีนเวลามาไทยก็ใช้โมบายแบงกิ้งผ่านแอปฯ อาลีเพย์ วีแชทเพย์ โดยเขาจะเปิดมือถือเอาบาร์โค้ด ของเขามาสแกนด้วย เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ณ จุดรับชำระเงินร้านสะดวกซื้อ เห็นได้ตามร้านสะดวกซื้อและร้านขายของฝากของที่ระลึกที่รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตที่ไม่ใช่เงินสดแล้ว ซึ่งเจ้าตัวบาร์โค้ดจะเหมือนกับบาร์โค้ดสินค้าที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป โดยปัจจุบันโมบายแบงกิ้งเชื่อมโยงข้อมูลกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) เข้าไว้ด้วยกัน
ออนไลน์แบงกิ้ง
โดยในตอนนี้ก็มีหลายบริการออนไลน์ที่ทำให้เราสามารถจ่ายเงินผ่านกระเป๋าสตางค์อีเล็คทรอนิคส์ หรือที่เราเรียกว่า e-Wallet แทนเงินสดลดความเสี่ยงในการหยิบจับเงินสดลงไปได้ เช่น จ่ายผ่าน QR Code บนแอปธนาคาร บน เครื่องสแกน QR Code ของร้านค้า และบริการ e-Payment ต่างๆ เช่น Samsung Pay ฯลฯ ที่เพื่อนๆ หลายคนก็เริ่มเคยชินกับการใช้จ่ายเงินผ่านแอป เป็นต้น มาดูกันว่าเราจะลดความเสี่ยงด้วยวิธีการจ่ายเงินผ่านออนไลน์อย่างไรบ้าง มาดูจ่ายเงินผ่านสมาร์ทโฟน 4 วิธี
1.จ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร ด้วย QR-Code
หากเรามีบัญชีเงินฝากในธนาคาร ก็สามารถสมัครบริการ Mobile Banking ของธนาคารนั้นๆ เพื่อใช้งาน จ่ายเงินผ่าน QR-Code บนแอปธนาคารที่เรามีเงินในบัญชีอยู่ วิธีนี้จะเป็นการหักเงินในบัญชีของเรา หรือเพียงแค่ส่องกล้องมือถือสแกน QR-Code หาก จ่ายเงินตามร้าน
2.จ่ายเงินผ่านบริการ PromptPay (พร้อมเพย์)
หลายร้านจะมีหมายเลขโทรศัพท์ ตั้งป้ายหรือติดผนัง หรือส่งเป็นภาพผ่านการซื้อสินค้าออนไลน์ ระบุไว้ให้เราโอนเงินผ่านบริการ PromptPay ได้เลย แบบนี้ไม่ต้องสแกน QR-Code แต่เป็นวิธีการโอนเงินออนไลน์ที่สะดวกมาก
3. จ่ายผ่านบริการชำระเงิน e-Payment / e-Wallet ของมือถือ
มือถือบางแบรนด์ เช่น Samsung มีบริการ Samsung Pay บริการจ่ายเงินผ่านมือถือสมาร์ทโฟน ใช้ได้กับร้านที่รองรับการชำระด้วยบัตรเครดิต โดยการผูกบัตรเครดิต แล้วนำมือถือไปแตะ กับ เครื่องรูดบัตร ผ่านเทคโนโลยี Magnetic Secure Transmission (MST) และ Near Field Communication (NFC)
4.บริการ e-Wallet หรือกระเป๋าเงินออนไลน์
สามารถเติมเงินเข้าสู่กระเป๋าสตางค์ออนไลน์ เพื่อนำเงินสดมาใช้บนมือถือ เช่น TrueMoney Wallet, AirPay โดยสามารถเติมเงินเข้ากระเป๋า e-Wallet หรือผูกบัตรเครดิต หรือผูกแอปธนาคารเพื่อโอนเงิน หรือผูกบัญชีธนาคารแบบ Direct Debit เช่น Rabbit LINE Pay บริการเหล่านี้ ทำให้เราไม่ต้องพกเงินสด แต่จะต้องเติมเงินหรือเชื่อมต่อบัตรเครดิต – บัญชีธนาคารก่อนใช้งาน ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้เราเลี่ยงการสัมผัสเงินสด สามารถโอนเงินได้สะดวกสบายและปลอดภัย
สมาร์ทโฟนผู้ช่วยยุคโควิด
สมาร์ทโฟนถือเป็นปัจจัยที่ห้าในการดำรงชีวิตไปเสียแล้ว โดยเป็นทั้งผู้จัดการโซเชียลมีเดีย, ผู้ช่วยส่วนบุคคล, ดีเจ และ GPS ของเรา และในปัจจุบัน ผู้บริโภคยังสามารถใช้อุปกรณ์มือถือเครื่องเดียวกันนี้ในการชำระเงินโดยไม่ต้องพึ่งพากระเป๋าสตางค์ได้อีกด้วย เเม้เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เราปลอดภัย หลีกเลี่ยงการใช้เงินสดป้องกันเชื้อไวรัสได้ แต่เราก็ต้องอย่าลืม สวมหน้ากากอนามัยเมื่อมีพนักงานมาส่งของที่บ้าน และอย่าลืมล้างมือด้วยสบู่เพื่อป้องกันตัวเองจากไวรัสด้วยนะ
Cr.คิดเพื่อชีวิตยั่งยืน,ประชาชาติธุรกิจ,วีซ่า