i-Synes.com

ตะกร้า 0

ภาวะพร่องออกซิเจน & ออกซิเจนบำบัด

ภาวะพร่องออกซิเจน & ออกซิเจนบำบัด

สภาวะฝุ่นพิษหรือฝุ่นละอองที่มีค่า PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานที่กำหนด อาจเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งเกิดจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เม็ดเลือดแดงอาจไม่สามารถนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เพียงพอ ส่งผลให้สมองและอวัยวะส่วนอื่นขาดออกซิเจน....


 

โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น ไม่ได้มีแค่ออกซิเจนเพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยไนโตรเจน ประมาณ 79% และ ออกซิเจน ประมาณ 21% รวมทั้งฝุ่นละอองที่ไม่พึงปรารถนา แต่ทุกวันนี้ สภาวะฝุ่นพิษหรือฝุ่นละอองที่มีค่า PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานที่กำหนด ปกคลุมทั่วกรุงเทพฯและต่างจังหวัดบางพื้นที่ จึงควรงดสูดออกซิเจนในอากาศกลางทีสาธารณะ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง pm 2.5 ที่อาจก่อให้เกิดขึ้นต่อร่างกาย แล้วเราจะขาดออกซิเจนไหม ถ้าอยู่แต่ในห้อง ซึ่งสภาพอากาศที่เหมาะสม ที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบายจะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5-23.5% ปกติก็เพียงพอสำหรับออกซิเจนในร่างกาย แต่เราก็สามารถวัดค่าออกซิเจนในร่างกายเราได้เช่นกันว่ามีเพียงพอต่อสุขภาพไหม ? หรือที่เราเรียกกันว่า "ภาวะพร่องออกซิเจน" 

ภาวะพร่องออกซิเจน เกิดจากอะไร

ภาวะพร่องออกซิเจน เกิดจากอะไร
ภาวะพร่องออกซิเจน มักเกิดจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น บนยอดเขา การขึ้นบินบนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งความกดบรรยากาศลดลง มีออกซิเจนเบาบาง ดังนั้นเมื่อหายใจเข้าไปในแต่ละครั้งจะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าเมื่ออยู่ที่ระดับพื้นดิน ภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งเกิดจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เม็ดเลือดแดงอาจไม่สามารถนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เพียงพอ ส่งผลให้สมองและอวัยวะส่วนอื่นขาดออกซิเจนได้ ส่งผลให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง การตรวจวัดออกซิเจนเพื่อหาความสมบูรณ์ของการหายใจ ลดการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนนนที่สูง หรือ การโดยสารเครื่องบิน มีส่วนช่วยให้เราปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนได้แแล้ว ยังสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือระหว่างการเดินทางได้อย่างเหมาะสม

ออกซิเจนบำบัด (Oxygen Therapy)
ออกซิเจนบำบัด (Oxygen Therapy)
ออกซิเจนบำบัด (Oxygen Therapy) เป็นวิธีที่ใช้ เพิ่มปริมาณออกซิเจนในปอด และกระแสเลือด ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจพบว่า ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือ มีภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxemia) เช่น ผู้ป่วยโรคปอดบวมโรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน รวมถึงผู้ป่วยโรคโควิด-19 ออกซิเจนบำบัดยังเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่ประสบภาวะระดับออกซิเจนต่ำ พบเจอกับฝุ่น pm 2.5 เป็นเวลานาน ในรายที่มีความจำเป็นต้องใช้ ออกซิเจนบำบัดจะช่วยลดอาการที่เกิดจากการขาดออกซิเจน และ ช่วยให้บุคคลเหล่านั้นทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น นอกจากนั้น การได้รับออกซิเจนเสริม ช่วยให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ ยังช่วยยืดอายุขัยให้ผู้ป่วยจำนวนมาก ช่วยลดอาการที่มาจากภาวะพร่องออกซิเจน เช่น ปวดศีรษะ อ่อนล้า หายใจตื้น หงุดหงิด กระวนกระวาย ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาเด็กที่มีภาวะทางปอดเรื้อรัง ปัจจุบันผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์ให้ออกซิเจนบำบัดได้ทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน

วิธีการตรวจปริมาณออกซิเจนในเลือด

วิธีการตรวจปริมาณออกซิเจนในเลือด
การวัดค่าออกซิเจนในเลือดเรียกว่าระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ในทางการแพทย์ อาจเรียกว่า O2 sat (SpO2) โดยแพทย์ตรวจปริมาณออกซิเจนในหลอดเลือดแดง วัดชีพจร เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยมีระดับของออกซิเจนในเลือดต่ํา ควรได้รับประโยชน์จากการบำบัดรักษาด้วยออกซิเจนหรือไม่ รวมไปถึงการใช้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อัตราการเต้นของหัวใจและวัดชีพจร ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ช่วยวัดระดับของออกซิเจนในเลือดได้ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) อยู่ที่ 96-99% เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อร่างกาย แต่ถ้าหากค่าที่วัดได้ น้อยกว่าก็มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพอย่างละเอียด ด้วยการวัดระดับออกซิเจนในเลือด โดยระดับของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงปกติจะอยู่ระหว่าง 75-100 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากพบว่ามีระดับออกซิเจนในเลือดเท่ากับ 60 มิลลิเมตรปรอท หรือน้อยกว่า แสดงว่าบุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนเสริมหรือออกซิเจนบำบัด

การรักษา ภาวะพร่องออกซิเจน
การรักษา ภาวะพร่องออกซิเจน
เมื่อเกิดภาวะพร่องออกซิเจนนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการวัด อัตราการเต้นของหัวใจ วัดชีพจร แล้วให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก หรือสายทางจมูก เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย ทั้งนี้จะเป็นการให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอรักษาระดับออกซิเจนในเลือด อย่างไรก็ตาม การได้รับออกซิเจนปริมาณมากเกินไปสร้างความเสียหายให้แก่เซลล์ในปอดได้ โดยระดับของออกซิเจนในเลือดควรไม่เกิน 110 มิลลิเมตรปรอท

ออกซิเจนบำบัด เหมาะกับใครบ้าง
ออกซิเจนบำบัด เหมาะกับใครบ้าง
ออกซิเจนบำบัด (Oxygen Therapy) เป็นวิธีที่นำมาใช้เพิ่มปริมาณออกซิเจนในปอดและกระแสเลือด สำหรับผู้ป่วยที่พบสัญญาณของเซลล์ในร่างกายบ่งชี้ว่าร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือภาวะขาดออกซิเจนที่วัดได้จาก เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด  วัดอัตราการเต้นหัวใจ และ ปริมาณออกซิเจนในร่างกาย หรือ วัดออกซิเจนในเลือด (SpO2) น้อยกว่าค่าปกติ โดยผู้ป่วยที่มีระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำเหล่านี้ อาจมีสาเหตุจากโรคปอด หรือโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และกลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ปัจจุบันผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์ให้ออกซิเจนบำบัดได้ทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน ยิ่งช่วงนี้ภาวะฝุ่น PM2.5 การวัดออกซิเจนมีผลอย่างมาก เพื่อเฝ้าดูอาการก่อนพบแพทย์

ภาวะพร่องออกซิเจนมีกี่ชนิด ?

ภาวะพร่องออกซิเจนมีกี่ชนิด ?
ภาวะพร่องออกซิเจน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เป็นสาเหตุให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง ภาวะพร่องออกซิเจนมี 4 ชนิด ได้แก่

  • ภาวะพร่องออกซิเจนจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia) พบได้บ่อยที่สุดจากการขึ้นที่สูง ความกดบรรยากาศลดลง การกลั้นหายใจ โรคหอบหืด ปอดบวม มีลมในช่องปอด เป็นต้น
  • ภาวะพร่องออกซิเจนจากเลือด (Hypemic Hypoxia) เกิดจากความบกพร่องในการนำพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น เช่น เม็ดเลือดแดงลดลงจากโรคโลหิตจาง การเสียเลือด ภาวะผิดปกติของฮีโมโกลบิน เป็นต้น
  • ภาวะพร่องออกซิเจนจากการติดขัดในการไหลเวียนของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia) เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการไหลเวียนของกระแสโลหิต เช่น การลดลงของปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
  • ภาวะพร่องออกซิเจนจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia) เกิดจากร่างกายได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารไซยาไนด์ เป็นต้น

ภาวะพร่องออกซิเจนมีอาการอย่างไร ?

ภาวะพร่องออกซิเจนมีอาการอย่างไร ?
เนื่องจากมักจะเกิดอาการขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่รู้สึกตัว (Insidious onset) จนหมดสติไปในที่สุด โดยทั่วไปแล้ว หากมีภาวะพร่องออกซิเจนจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ผิวหนังซีดหรือเขียวคล้ำ
  • ไอ คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ซึม เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก ร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบ มือเท้าชา
  • หายใจถี่ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด
  • กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  • ตาพร่ามัว สับสน มึนงง
  • การรู้ตัวลดลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
  • หากปล่อยไว้อาจเกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ

 

Cr.Cr.โรงพยาบาลกรุงเทพ,พาธแล็บ,พบแพทย์,Kapook,กรุงเทพธุรกิจ