i-Synes.com

ตะกร้า 0

Cross Border QR Payment ร้านค้าพร้อมหรือยัง ?

Cross Border QR Payment ร้านค้าพร้อมหรือยัง ?

ลูกค้าจากประเทศอื่นต้องการชำระเงิน เพียงแค่แจ้งลูกค้าชาวต่างชาติ ว่าให้ใช้ แอปธนาคาร หรือ e-wallet ที่ลูกค้ามี สแกน PromptPay หรือ Thai QR Payment ของไทย จ่ายได้เลย จึงขอชวน ร้านค้าในไทยมาทำ QR code ไว้รับชำระเงินจากชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทย....


 

 

ความต่อเนื่องจากการลงนามแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ ไทย ที่ตกลงจะใช้ระบบการชำระเงินผ่าน QR code ร่วมกันในปี 2022 ซึ่งไทยเป็นประเทศแรก ที่นำระบบนี้ Cross Border QR Payment ไปใช้งานกับ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ล่าสุด ลาว เป็นประเทศที่ 6 ในอาเซียนที่เชื่อมโยงระบบชำระเงินระหว่างประเทศ เพิ่มเติมจาก กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และ อินโดนีเซีย ส่วนปีนี้ ญี่ปุ่น เตรียมพร้อมการเชื่อมต่อระบบชำระเงินผ่าน QR code กับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยคาดว่า Cross border Payment ของญี่ปุ่นกับไทย พร้อมเปิดให้บริการช่วงกลางปี 2025 เป็นต้นไป

ชำระเงินข้ามแดน ง่าย ๆ ด้วย QR Payment


ชำระเงินข้ามแดน ง่าย ๆ ด้วย QR Payment
วิธีการง่าย ๆ เพียงแค่ใช้สมาร์ทโฟน ทำหน้าที่เป็น เครื่องอ่าน qr code ไร้สาย สแกนปุ๊บ จ่ายปั๊บ ไม่ต้องแลกเงินก่อน สำหรับร้านค้าหากต้องการรับเงินจากลูกค้าต่างประเทศ ก็เพียงแสดง QR code จากระบบของประเทศตัวเองได้เลย เช่น PromptPay หรือ Thai QR Payment ของไทย, PayNow (สิงคโปร์), QRIS (อินโดนีเซีย) และ DuitNow (มาเลเซีย) เมื่อลูกค้าจากประเทศอื่นต้องการชำระเงิน เพียงแค่แจ้งลูกค้าชาวต่างชาติ ว่าให้ใช้ แอปธนาคาร หรือ e-wallet ที่ลูกค้ามีสแกน QR จ่ายได้เลย จึงขอชวน ผู้ประกอบกิจการร้านค้าในไทยมาทำ QR code ไว้รับชำระเงินจากชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทย

Cross Border QR Payment ร้านค้าพร้อมหรือยัง ?


Cross Border Payment ร้านค้าพร้อมหรือยัง ?
การชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด แบบใหม่ ที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถ สแกนจ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการ ผ่านช่องทางชำระเงินเดิม ของแต่ละประเทศได้โดยง่าย และไม่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินก่อน โดยชำระด้วยการสแกน QR Payment ง่ายและสะดวกสำหรับร้านค้า ไม่ต้องมีเครื่องรูดบัตรเครดิต รับเงินสดเงินสกุลต่างประเทศที่แปลงเป็นเงินบาทได้เลย จึงเชิญชวนร้านค้าเข้าร่วมโครงการ แล้วการชำระเงินข้ามแดนผ่าน QR Payment ดีกับร้านค้าในไทยอย่างไร? เรามาดูกัน

1. ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย เช่น นักท่องเที่ยวช้อปปิ้งจนเงินสดเหลือน้อย แต่อยากซื้อของจากร้านค้าของเรา ก็อาจสนใจซื้อมากขึ้นเพราะจ่ายเงินได้ด้วย QR Code หรือก่อนมาเที่ยวประเทศไทย นักท่องเที่ยวอาจแลกเงินมาในอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อของแพง แต่พอมาเที่ยวจริง อัตราแลกเปลี่ยนได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้ซื้อของได้ถูกลง ก็อาจสนใจจ่ายด้วยคิวอาร์โค้ดได้ หรือร้านค้าออนไลน์สามารถส่ง QR code ให้ลูกค้าที่อยู่อีกประเทศจ่ายเงินได้ทันที ด้วยแอปฯ บนมือถือ ทำหน้าที่เป็น เครื่องสแกนคิวอาร์โค้ด สแกน QR code ชำระเงิน
2. ขอบอกเลยว่า ไม่มีต้นทุน ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม แถมยังช่วยร้านค้า บริหารเงินได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยลดภาระการจัดการเงินสด ลดความเสี่ยงในการรับเงิน และเลือกรับรายงานแบบ Real-time ได้ ตรวจสอบเงินเข้าบัญชีผ่าน แอปฯ ธนาคารที่เราผูกไว้กับระบบ QR Payment ของธนาคาร
3. สะดวกสบายปลอดภัย แค่มี QR Code ของธนาคารเพียงแห่งเดียว ก็สามารถรับเงินจากลูกค้าได้หลายประเทศ และวิธีรับชำระเงินเหมือนกับ การรับชำระเงินภายในประเทศทั่วไป เมื่อลูกค้ายืนยันการทำรายการ หลังจากใช้มือถือ เป็นเสมือน เครื่องสแกน qr และบาร์โค้ด จ่ายชำระเงิน ร้านค้าจะได้รับเงินเข้าบัญชีทันที
4. และสุดท้าย มีการกำหนดเพดานอัตราแลกเปลี่ยน ให้แข่งขันได้ ไม่แพงจนเกินไป ซึ่งจูงใจให้ลูกค้าต่างชาติใช้จ่าย เพลิดเพลินการช้อปปิ้ง ไร้กังวลเรื่องเงินข้ามประเทศ

ร้านค้าสมัครใช้ QR Payment ได้อย่างไร?

 

ร้านค้าสมัครใช้ QR Payment ได้อย่างไร?
1. ร้านค้ามักจะถามกันคือประเภทของ QR code โดยร้านค้าที่จะรับเงินจากชาวต่างชาติจะต้องใช้ QR สำหรับร้านค้า (Merchant QR) เท่านั้น ไม่สามารถใช้ QR ที่สร้างจากบัญชีส่วนบุคคลได้ หากร้านค้ายังไม่มี Merchant QR ขอให้ติดต่อธนาคารพาณิชย์ที่ใช้บริการอยู่และลงทะเบียนบัญชีว่าเป็นผู้ประกอบการร้านค้า
2.บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ก็ขอ Merchant QR ได้ ขอให้ติดต่อธนาคารพาณิชย์ที่ใช้บริการอยู่เพื่อเปิดใช้บริการ
3. ธนาคารของไทยแต่ละแห่งรับเงินจากลูกค้าต่างสัญชาติกัน โดยในขณะนี้ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย และ ไทยพาณิชย์ รับเงินได้จากลูกค้า 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม และเกาหลีใต้ ส่วนซีไอเอ็มบีไทยรับเงินได้เฉพาะลูกค้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้
4. และสุดท้าย ลูกค้าต่างชาติสามารถสแกน QR code ที่สร้างจาก เครื่องรูดบัตร EDC ได้เช่นกัน

แอปธนาคาร ที่เข้าร่วม Cross Border QR Payment


แอปธนาคาร ที่เข้าร่วม Cross Border QR Payment
ลูกค้าต่างประเทศต้องดูว่าตนเองมี mobile banking application ของธนาคารที่เข้าร่วมบริการด้วยหรือไม่ อย่างลูกค้ามาเลเซียใช้ application ได้หลายธนาคาร เช่น application ของ CIMB, Hong Leong bank, Maybank เฉพาะ MAE app เป็นต้น ลูกค้าเกาหลีใต้ ต้องมี application ของธนาคาร KEB Hana ประเด็นถัดมาที่ควรรู้ คือ วงเงินสูงสุดในการชำระเงิน เป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารแต่ละประเทศ เช่น มาเลเซีย 3,000 ริงกิตต่อครั้ง ไม่เกิน 50,000 ริงกิตต่อวัน ค่าธรรมเนียมของลูกค้าต่างชาติ ขึ้นกับธนาคารของแต่ละประเทศ เช่น ธนาคารของมาเลเซียไม่คิดค่าธรรมเนียม เวลานักท่องเที่ยวมาเลเซียสแกน QR code เพื่อซื้อของในไทย อีกทั้ง ลูกค้าทราบ อัตราแลกเปลี่ยนและค่าธรรมเนียม ก่อนจ่ายเงิน ถ้าลูกค้าไม่พอใจ ก็ไม่ต้องกดจ่ายเงินชำระค่าสินค้าผ่านแอปธนาคาร

ASEAN QR Payment Connectivity ไร้พรมแดน

 

ASEAN QR Payment Connectivity ไร้พรมแดน
การให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR ระหว่างกัน ถือเป็นความสำเร็จ ในการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินรายย่อยแบบทันที โดยมีเป้าหมายสนับสนุน การใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ภายใต้แผน ASEAN Payment Connectivity เพื่อส่งเสริมการเติบโต และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจในภูมิภาค ธนาคารที่ให้บริการก็มีมากขึ้น และขยายความเชื่อมโยงไปที่อื่น เช่น ฮ่องกง แล อินเดีย กำลังสนใจเข้าร่วมโครงการ เร็วๆ นี้ เหมือนกรณีคนไทยไปใช้จ่ายในต่างประเทศ ความร่วมมือการเชื่อมโยงระบบชำระเงินดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเชื่อมโยง การชำระเงินของอาเซียน (ASEAN Payment Connectivity) ที่มีเป้าหมายในการขยาย การเชื่อมต่อการชำระเงินร้านค้าปลีกแบบเรียลไทม์ข้ามพรมแดน ระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนภายในปี 2568.

 

Cr.ธนาคารแห่งประเทศไทย,นสพ.ไทยรัฐ,เครื่องสแกน qr และบาร์โค้ด,Qashier,