ผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่าน กล้อง Microscope

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่าน กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) เลือกผ่าตัดเฉพาะส่วนที่มีปัญหาได้ ลดการเสียกล้ามเนื้อส่วนที่ดีไป ลดอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ดี และ ไม่ต้องใช้ยาสลบ ใช้เพียงยาชาเฉพาะจุดเท่านั้น จึงทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยรู้สึ....
กระดูกสันหลังเป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของลำตัว มีหน้าที่หลักเป็นแกนกลางของโครงสร้างกระดูกลำตัว ซึ่งจะคอยรับน้ำหนักที่เกิดจากการพยุงร่างกาย กระดูกสันหลังมีกระดูกย่อยทั้งหมด 33 ชิ้น โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ กระดูกสันหลังส่วนคอ กระดูกสันหลังส่วนอก กระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ และ กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ ซึ่งภายในกระดูกสันหลังมี ไขสันหลัง ที่ทำหน้าที่นำคำสั่งจากสมองไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ด้วยหน้าที่นี้ จึงทำให้กระดูกสันหลังสามารถเกิดความเจ็บปวด จากการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การนั่ง การก้ม ที่ผิดสรีระร่างกายเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกเสื่อม, กระดูกคอทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกอักเสบ หรือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
การผ่าตัดกระดูกสันหลัง ความเสี่ยงที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป
การผ่าตัดกระดูกสันหลังก็เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท ลดอาการปวด ชา อ่อนแรง ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้เร็วมากที่สุด โดยการผ่าตัดกระดูกสันหลังนั่น ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของผู้ป่วย การวินิจฉัยของแพทย์ รวมไปถึงการเห็นชอบของผู้ป่วย จึงจะสามารถทำการผ่าตัดได้ ซึ่งวิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ศัลยแพทย์จะทำการพิจารณาให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยน้อยที่สุด ขณะที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการรักษา เนื่องจากการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน และ ต้องใช้ศัลยแพทย์เฉพาะด้านกระดูกสันหลังในการผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน การผ่าตัดกระดูกสันหลังมีด้วยกัน 3 รูปแบบ
การผ่าตัดแบบเปิดแผล หรือ แบบมาตรฐาน
การผ่าตัดแบบมาตรฐานที่จะทำการผ่าหลัง เปิดกล้ามเนื้อหลังออกมาเพื่อทำการรักษา วิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะมีแผลยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตรในการผ่าตัด 1 ระดับ แต่หากมีการผ่าตัด 2 ระดับแผลอาจยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร และ อาจมีผลกระทบทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บส่งผลให้มีการอาการปวด หลังการผ่าตัดยาวนานมากขึ้น ทำให้ต้องพักรักษาในโรงพยาบาล 7-10 วันโดยประมาณ หรือ อาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
การผ่าตัดผ่าน กล้อง Microscope หรือ กล้องจุลทรรศน์
การผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยใช้ กล้องจุลทรรศน์ ส่องจากภายนอกร่างกาย เพื่อให้เห็นบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก กล้องจุลทรรศน์ กำลังขยายสูง จึงช่วยทำให้การผ่าตัดมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัย และแม่นยำมากขึ้น ซึ่งขนาดแผลจากการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีมาตรฐาน โดยขนาดความยาวของแผล 2-4 เซนติเมตรโดยประมาณ และ ใช้เวลาในการพักรักษาที่โรงพยาบาล ประมาณ 3-4 วันเท่านั้น
การผ่าตัดผ่าน กล้อง Endoscope หรือ กล้องเอ็นโดสโคป
การผ่าตัดกระดูกสันหลัง ที่ใช้การเจาะรูส่องกล้องฯ เข้าไปในร่างกายบริเวณที่ต้องการผ่าตัด ซึ่งเลนส์ของกล้องเอ็นโดสโคปติดอยู่ที่ปลายกล้อง ใช้แทนดวงตาของแพทย์ในขณะทำการผ่าตัด การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่าน กล้องเอ็นโดสโคป ทำให้สามารถเลือกเฉพาะส่วนที่มีปัญหาได้ จึงทำให้ไม่ต้องเสียกล้ามเนื้อส่วนที่ดีไป ช่วยลดอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ดี และ ไม่ต้องใช้ยาสลบใช้เพียงยาชาเฉพาะจุดเท่านั้น จึงทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกตัวตลอดเวลาในการผ่าตัด และด้วยกล้องเอ็นโดสโคปมีขนาดเล็ก จึงทำให้แผลมีขนาดเล็กเพียง 0.5 เซนติเมตร จึงใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนเท่านั้น
สัญญาณเตือนอาจต้องผ่าตัดผ่าน กล้องฯ
*ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรงและรวดเร็ว
*ปวดรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
*ไม่หายขาดหลังรักษาแบบไม่ผ่าตัดนาน 3–6 เดือน
*ไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบปัสสาวะและอุจจาระได้
ผู้ป่วยที่เหมาะกับผ่าตัดผ่าน กล้องฯ
*ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
*ผู้ป่วยโพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาทจากภาวะเสื่อมของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง
ข้อดีของการผ่าตัดผ่าน กล้องฯ
*ลดความเสียหายของกล้ามเนื้อและบริเวณเฉพาะที่
*ขณะผ่าตัดหากต้องการปรับเปลี่ยนแผนขยายช่องทางของเส้นประสาทสามารถทำได้ง่าย
*ลดอาการปวดและเวลาในการผ่าตัด
*พักฟื้นไม่นาน ฟื้นตัวได้เร็ว
ทางเลือกการรักษา โรคกระดูกสันหลัง
หากมีอาการปวดหลังเพียงไม่นานแล้วหายได้ จากการดูแลรักษาตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ถ้ามีอาการปวดหลังเรื้อรัง ติดต่อกันเป็นเวลานานและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการโรคกระดูกสันหลัง เช่น โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม ฯลฯ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะกระดูกและข้อต่าง ๆ มีการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ปัจจุบัน แนวโน้มของผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเพิ่มมากขึ้น จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งการนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ หรือ นั่งดูโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีรักษาโรคดังกล่าวมีตั้งแต่การกินยา การทำกายภาพ และการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ซึ่งวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับ ความร้ายแรงของโรค และคำแนะนำจากทีมแพทย์ที่ทำการรักษา การผ่าตัดกระดูกสันหลัง คือคำตอบ ที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกสันหลัง กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หมดปัญหาความเจ็บปวดที่รบกวนการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
ในช่วงพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดด้วย กล้องไมโครสโคป หรือ กล้อง Endoscope เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดอาการอ่อนเพลีย และฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้กลับมาทำงานแบบสดใสอีกครั้ง ก่อนออกจากโรงพยาบาลจะต้องทำกิจกรรม เช่น นั่งและออกจากรถ ขึ้นลงจากเตียงได้สะดวกหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ เมื่อกลับถึงบ้านไม่ควรนั่งนานเกิน 60 นาทีในแต่ละครั้ง ไม่ยกของหนัก ไม่ทำกิจกรรมที่ใช้แรง หลังผ่าตัด 4 สัปดาห์ ต้องเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อท้องและหลัง
วินิจฉัยโดยแพทย์ก่อนการผ่าตัดฯ
ทั้งนี้การวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง ด้วยการตรวจอย่างละเอียดและถูกต้อง คือหัวใจสำคัญ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยรับประทานยาและทำกายภาพเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจหายขาดได้ แต่หากไม่หายและปวดรุนแรง จนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต อาจมีความจำเป็นที่จะเข้ารับการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบดั้งเดิม มีแผลที่ใหญ่ เจ็บมาก เสียเลือดมาก และใช้เวลาผ่าตัดนานพอสมควร ส่วนการผ่าตัดผ่านกล้องนั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง แต่ทั้งนี้การเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ตำแหน่งที่ต้องการรักษา รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยเอง แนะนำให้ปรึกษากับศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการผ่าตัด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
Cr.คมชัดลึก,โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล,ไวไฟ ไมโครสโคป,Phyathai Hospital,Premium spine,