i-Synes.com

ตะกร้า 0

ผู้บุกเบิก กล้องจุลทรรศน์ สู่ผู้นำ เลนส์ระดับโลก

ผู้บุกเบิก กล้องจุลทรรศน์ สู่ผู้นำ เลนส์ระดับโลก

เส้นทาง ZEISS 175 ปี สู่ ผู้นำนวัตกรรมระดับโลก ของนายช่างหนุ่มชาวเยอรมัน ชื่อ Carl Zeiss ทดลองผลิตเครื่องกล ที่มีความแม่นยำและ ผลิตอุปกรณ์ทางจักษุวิทยา ณ ห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก ในเมืองเยนา ประเทศเยอรมันนี จนประสบความสำเร็จระดับสากลจวบจนปัจจุบัน


 

 

จากจุดเริ่มต้น ณ ห้องปฏิบัติการเล็กๆ ในเมืองเยนา ประเทศเยอรมันนี ของวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1846 นายช่างหนุ่มชาวเยอรมัน ชื่อ (Carl Zeiss) ได้ทดลองผลิตเครื่องกลและอุปกรณ์ทางจักษุวิทยา ที่นำไปสู่การก่อตั้งบริษัท ZEISS ในปี 1866 โดยจับมือกับ Ernst Abbe นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ ร่วมกันยกระดับเป็นผู้ประกอบการชั้นนำด้านเทคโนโลยี นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาวิทยาการที่หลากหลายทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ อุตสาหกรรม จนประสบความสำเร็จระดับสากลจวบจนปัจจุบัน

กล้องจุลทรรศน์ คุณภาพ ZEISS

กล้องจุลทรรศน์ คุณภาพ ZEISS
เทคโนโลยี กล้องจุลทรรศน์ ของ ZEISS นั้น มีชื่อเสียงก้องโลก ได้รับความไว้วางใจใช้เป็น เครื่องมือในการค้นคว้าวิจัย จากผู้ชนะรางวัลโนเบลหลายท่าน รวมถึง Robert Koch และ Christian Neusslein-Walhard ผู้ค้นพบวัณโรคและ เป็นผู้วิจัยการควบคุมทางพันธุกรรมในการพัฒนาตัวอ่อน และ Allvar Gullstrand จักษุแพทย์ชาวสวีเดน ที่ได้ร่วมมือกับ Moritz von Rohr หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาที่ ZEISS ทำการวิจัยเกี่ยวกับ เทคโนโลยีของแสงต่อการวินิจฉัย และรักษาโรคตา จนได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานด้าน Dioptrics เช่นกัน

ผู้นำแห่งเลนส์ระดับโลก

ผู้นำแห่งเลนส์ระดับโลก
ปีที่ผ่านมานี้ ZEISS ฉลองวาระครบรอบ 175 ปี การเป็นผู้นำแห่งเลนส์ระดับโลก ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมมาอย่างยาวนาน และเป็นหนึ่งในผู้นำเทรนด์ที่มีส่วนกำหนดอนาคตของเทคโนโลยี และพัฒนาโลกแห่งเลนส์ ที่สอดคล้องกับการเติบโตของโลกในอนาคต ZEISS เป็นหนึ่งในเจ้าของเทคโนโลยีในการผลิตระบบและโมดูลสำหรับการผลิตไมโครชิปผ่านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยี ลิโธกราฟฟี ช่วยให้สามารถผลิต โครงสร้างที่ละเอียดยิ่งขึ้น บนไมโครชิปได้ ทำให้วงจรมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้มีไมโครชิปที่ทรงพลังและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น

ท้องฟ้าจำลอง

ท้องฟ้าจำลอง & ห้างสยามดิสเปนซารี
ใน ค.ศ. 1878 สมัยรัชกาลที่ 5 ห้างสยามดิสเปนซารี (Siam Dispensary) เป็นร้านปรุงยาแบบตะวันตกและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมและเคมีภัณฑ์ ผู้นำเข้า กล้องจุลทรรศน์ ของคาร์ล ไซส์ส ที่ใช้ในวงการแพทย์สมัยใหม่ ของยุโรปในขณะนั้น เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาให้วงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของไทยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ส่วนด้านดาราศาสตร์ บี.กริมและคาร์ล ไซส์ส ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยในปี ค.ศ. 1962 ให้เป็นผู้ก่อสร้างท้องฟ้าจำลองพร้อมติดตั้ง เครื่องฉายดาวระบบเลนส์ และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทย ได้มีองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ที่ทันสมัย

โครงการ ZEISS Academic Program
ในโครงการ ZEISS Academic Program ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอีก 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย พัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านวิศวกรรมของไทยให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรม ในประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด และส่งเสริมอุตสาหกรรม New S-Curve และ S-Curve รองรับความต้องการแรงงานระดับสูงในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศไทยต่อไป

เส้นทาง ZEISS 175 ปี สู่ ผู้นำนวัตกรรมระดับโลก
เส้นทาง ZEISS 175 ปี สู่ ผู้นำนวัตกรรมระดับโลก

1846 นายช่างหนุ่มชาวเยอรมัน ชื่อ Carl Zeiss ทดลองผลิตเครื่องกล ที่มีความแม่นยำและ ผลิตอุปกรณ์ทางจักษุวิทยา ณ ห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก ในเมืองเยนา ประเทศเยอรมันนี

1847 Carl Zeiss เริ่มผลิต กล้องจุลทรรศน์ ขั้นพื้นฐาน

1857 Carl Zeiss และเพื่อนร่วมทีม สามารถสร้าง กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง ได้สำเร็จ

1860 Carl Zeiss ร่วมงานกับอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเยนา ผลิตเลนส์ใกล้วัตถุจากพื้นฐานของการคำนวณทางคณิตศาสตร์

1866 Carl Zeiss และ Ernst Abbe นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ ก่อตั้งบริษัท ZEISS ที่เมืองเยนา ประเทศเยอรมนี

1879 Otto Schott นักเคมีเครื่องแก้ว ประสบความสำเร็จในการผลิตแก้ว ด้วยคุณสมบัติทางแสงแบบใหม่ นำไปสู่การทำงานร่วมกันกับ ZEISS เพื่อพัฒนาเลนส์คุณภาพสูง

1884 Glaswerk Schott และ Genossen ริเริ่มโรงงานผลิตแก้ว ซึ่งคุณภาพของกระจกออปติคอล ทำให้สามารถต่อยอดจากทฤษฎีของ Ernst Abbe ได้ และส่งผลให้เครื่องมือของ ZEISS ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

1889 Carl Zeiss เสียชีวิต Ernst Abbe จึงได้ก่อตั้งมูลนิธิ Carl Zeiss ขึ้น เพื่อส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและเทคโนโลยี

1890 Ernst Abbe พัฒนา กล้องไมโครสโคป ให้สามารถจำกัดความละเอียดแสงได้ดียิ่งขึ้น การพัฒนานี้ ได้ถูกนำมาปรับใช้ในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศาสตร์ และนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่

1900 Allvar Gullstrand จักษุแพทย์ชาวสวีเดน ร่วมมือกับ Moritz von Rohr หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาที่ ZEISS ทำการวิจัยเกี่ยวกับ เทคโนโลยีของแสงต่อการวินิจฉัย และรักษาโรคตา และได้รับรางวัลโนเบล จากผลงานด้าน Dioptrics แบบจำลองดวงตาของ Gullstrand และการคำนวณค่าเลนส์โดย von Rohr ส่งผลต่อการพัฒนาจักษุวิทยาในปัจจุบัน

1912 เปิดตัวกล้องจุลทรรศน์ Slit Lamp โดยอิงจากผลการวิจัยของ Gullstrand อันเป็นรากฐานของ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับ ZEISS

เปิดตัว ไมโครมิเตอร์ (micrometer)

1919 เปิดตัว ไมโครมิเตอร์ (micrometer) แบบเกลียวที่มีความแม่นยำ ที่งาน Leipzig Spring Fair สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ในด้านมาตรวิทยา ส่งผลให้ ZEISS กลายเป็นผู้ผลิตชั้นนำ ด้านการวัดแบบหลายมิติ ทั้ง เครื่องวัด พิกัดแสงและเซ็นเซอร์หลากหลาย รวมทั้งซอฟต์แวร์มาตรวิทยา สำหรับยานยนต์ การบิน วิศวกรรมศาสตร์ พลาสติกและ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ไปจนถึงเทคโนโลยี ที่เป็นนวัตกรรม เช่น เครื่องวัด X-ray 3 มิติ

1925 เครื่องฉายดาวระบบเลนส์ ชุดแรกได้ถูกสร้างขึ้น สำหรับพิพิธภัณฑ์ Deutsches ที่เมืองมิวนิก

1930 เมืองใหญ่ทั่วโลกได้มีการก่อสร้าง ท้องฟ้าจำลองถึง 21 แห่ง โดยสั่งซื้อ เครื่องฉายดาวระบบเลนส์จาก ZEISS

1953 เปิดตัว OPMI® 1 กล้องจุลทรรศน์ ชนิดพิเศษที่ช่วยให้ จักษุแพทย์ สามารถส่องเห็นดวงตาทั้งภายนอก และภายในแบบภาพ 3 มิติ อันเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนา กล้องไมโครสโคป ศัลยกรรม ทุกวันนี้ ZEISS ยังคงพัฒนา การรักษาทางจักษุวิทยา และการจุลศัลยกรรม อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเปิดตัวเทคโนโลยี ZEISS KINEVO® 900 ที่ใช้กับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง และศัลยกรรมประสาท ซึ่งประกอบด้วยนวัตกรรมมากกว่า 100 รายการและสิทธิบัตร 180 รายการ ผ่านระบบการทำงาน กับหุ่นยนต์ ในการสร้างภาพดิจิตอล และรูปแบบการตอบสนอง ต่อความช่วยเหลือที่ทันสมัย

เลนส์คุณภาพสูง ของ ZEISS

1974 เซ็นต์สัญญากับบริษัท Kyocera ของญี่ปุ่นผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพ Yashica โดยใช้เลนส์ของคุณภาพสูง ของ ZEISS บริษัทยังผลิตอุปกรณ์ทางด้านเลนส์อื่น ๆ อีกจำนวนมาก อาทิ กล้องส่องนก เลนส์สำหรับกล้องวิดีโอ เลนส์สำหรับกล้องดิจิทัล เลนส์สำหรับกล้องบนมือถือ เลนส์สำหรับ กล้องถ่ายภาพยนตร์ เครื่องมือวัด ทางอุตสาหกรรม และอุปกรณ์การแพทย์ รวมถึงผลิตเลนส์ สำหรับใช้กับ กล้องถ่ายภาพหลากหลายยี่ห้อ เช่น คอนแท็กซ์ (Contax), ไลกา (Leica), โรไล (Rolei), โวกท์แลนเดอร์ (Voigtlander), ฮัสเซลบลัด (Hasselblad), โซนี (Sony), โคนิกา-มินอลตา (Konica-Minolta), นิคอน (Nikon), แคนนอน (Canon), และ เพ็นแท็กซ์ (Pentax)

2019 ZEISS ร่วมมือกับ บริษัทมากมายในยุโรป รวมถึงสถาบันวิจัยต่างๆ เพื่อสร้างเทคโนโลยีทางการผลิตใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาของ การพิมพ์หินด้วยแสง (EUV lithography) ส่งผลให้ ZEISS เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนการเข้าสู่โลกดิจิทัล โดยเทคโนโลยีนี้ มีความสำคัญอย่างมากในการลดขนาด ช่วยให้สามารถผลิต โครงสร้างที่ละเอียดยิ่งขึ้น บนไมโครชิปได้ ทำให้วงจรมีขนาดเล็กลง ไมโครชิปทรงพลังและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อ โครงสร้างพื้นฐาน สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

เลนส์ของคุณภาพสูง  ทางการแพทย์

ผู้ผลิต เครื่องมือวัด ความแม่นยำสูง
ปัจจุบัน ZEISS นับเป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกที่ดำเนินงานในอุตสาหกรรมด้านออปติคอล และออปโตอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น เทคโนโลยีการผลิตเซมิคอนดักเตอร์, อุตสาหกรรมและการวิจัย และเทคโนโลยีทางการแพทย์ และยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะในด้านของการแพทย์ โดยเป็นผู้ผลิตเครื่องมือ ที่ใช้สำหรับการผ่าตัดจุลศัลยกรรม รวมไปเทคโนโลยีเอกซ์เรย์ที่ทำให้การวินิจฉัยโรคและการรักษามนุษย์ มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น และยังเป็นผู้ผลิตเครื่องมือวัดสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแม่นยำและได้มาตรฐาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนความเจริญ ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมมาอย่างต่อเนื่อง

Cr.กรุงเทพธุรกิจ,ไมโครมิเตอร์,ZEISS,กล้องจุลทรรศน์ USB,บี.กริม,