i-Synes.com

ตะกร้า 0

เวอร์เนียร์ดิจิตอล เครื่องมือวัด คู่กายช่าง

เวอร์เนียร์ดิจิตอล เครื่องมือวัด คู่กายช่าง

ในงาน QC เครื่องมือวัดขนาดมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่ เวอร์เนียร์ดิจิตอล และ ไมโครมิเตอร์ ทั้ง 2 ชนิดถูกนำมาใช้เพื่อ การวัดขนาดชิ้นงานเหมือนๆ กัน แต่หากเจาะลึกเปรียบเทียบเพื่อเลือกใช้งานถึงคุณสมบัติเฉพาะ พบว่ามีข้อแตกต่างของเครื่องมือ 2 ชนิดนี้ รวมถึงการเลือกนำไปใช้งานแต่ละประเภทให้...


 

เวอร์เนียร์ดิจิตอล เป็นเครื่องมือวัดขนาด ขั้นพื้นฐานที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในงาน QC ซึ่งหากมองในเบื้องต้นนั้น เครื่องมือวัดขนาดมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่ เวอร์เนียร์ดิจิตอล และ ไมโครมิเตอร์ ทั้ง 2 ชนิดถูกนำมาใช้เพื่อ การวัดขนาดชิ้นงานเหมือนๆ กัน แต่หากเจาะลึกเปรียบเทียบเพื่อเลือกใช้งานถึงคุณสมบัติเฉพาะ พบว่ามีข้อแตกต่างของเครื่องมือ 2 ชนิดนี้ รวมถึงการเลือกนำไปใช้งานแต่ละประเภทให้เหมาะสมสูงสุด ควรใช้เครื่องมือชนิดไหนที่ได้ผลมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เวอร์เนียร์ดิจิตอล รับใช้ สารพัดงานช่าง

เวอร์เนียร์ดิจิตอล รับใช้ สารพัดงานช่าง
อย่างไรก็ตามหากดูจากภาพเปรียบเทียบเห็นได้ว่า ไมโครมิเตอร์ เหมาะสำหรับวัดชิ้นงานความหนา ที่มีระยะวัดพิสัย 0-25mm และสูงสุด 78-100mm ยังมีข้อจำกัดในพิสัยของการวัดที่สามารถวัดงานได้เพียงที่ละ 25 มิลลิเมตร เท่านั้น แตกต่างจาก เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) ที่มีพิสัยในการวัดตั้งแต่ 0-150 mm ถึง 0-300 mm และรูปแบบการวัดงานที่มีความหลากหลายมากกว่า เช่น วัดขนาดภายนอก วัดขนาดภายใน และวัดความลึก ได้ในตัวเดียว ดังนั้นการเลือกใช้ เครื่องมือวัดขนาด แต่ละประเภทนั้นควรพิจารณาถึง
ความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน เวอร์เนียร์
1. ขนาดของชิ้นงาน หากมีขนาดที่ต้องการตรวจวัด เป็นชิ้นงานมีขนาดใหญ่กว่า 25 mm หรือมีรูปแบบการตรวจวัดที่นอกเหนือกว่าการวัดความหนาที่ ไมโครมิเตอร์ ทำไม่ได้ การเลือกใช้ เวอร์เนียร์ดิจิตอล น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เช่น การใช้ เวอร์เนีย วัดชิ้นงานในร่องขนาดเล็ก วัดความลึก วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน เป็นต้น
2. กรณีชิ้นงานที่ใช้วัดความหนา เราสามารถเลือกวัดได้กับเครื่องมือวัดทั้ง 2 ชิ้น ได้ทั้ง ไมโครมิเตอร์ หรือ เวอร์เนียร์ดิจิตอล หากให้เลือกความต้องการ ความถูกต้องแม่นยำในการตรวจวัด หรือต้องการความแม่นยำสูง ไมโครมิเตอร์ น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า

ขั้นตอนในการใช้ เวอร์เนียร์ดิจิตอล วัดขนาดงาน

ขั้นตอนในการใช้ เวอร์เนียร์ดิจิตอล วัดขนาดงาน

1. ตรวจสอบเครื่องมือวัด ก่อนวัดจริง
1.1 ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด ทุกชิ้นส่วนของเวอร์เนียร์ก่อนใช้งาน
1.2 คลายล็อคสกรู แล้วทดลองเลื่อน เวอร์เนียสเกลไปมาเบา ๆ เพื่อตรวจสอบดูว่าสามารถใช้งานได้คล่องตัวหรือไม่
1.3 ตรวจสอบปากวัดของ เวอร์เนีย โดยเลื่อนเวอร์เนียร์สเกลให้ปากเวอร์เนียวัดนอกเลื่อนชิดติดกันจากนั้นยกเวอร์เนียร์ขึ้นส่องดูว่า บริเวณปากเวอร์เนียร์ มีแสงสว่างผ่านหรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าสามารถใช้งานได้ดี กรณีที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านได้ แสดง ว่าปากวัดชำรุดไม่ควรนำมาใช้วัดขนาด

2. การวัดขนาดชิ้นงาน
2.1 ทำความสะอาดบริเวณผิวงานที่ต้องการวัด
2.2 เลือกใช้ปากวัดงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องการ เช่น ถ้าต้องการวัดขนาดภายนอกเลือกใช้ปากวัดนอก วัดขนาดด้านในชิ้นงานเลือใช้ปากวัดใน ถ้าต้องการวัดขนาดงานที่ที่เป็นช่องเล็ก ๆ ใช้บริเวณส่วนปลายของปากวัดนอก ซื่งมีลักษณะเหมือนคมมีดทั้ง 2 ด้าน
2.3 เลื่อนเวอร์เนียร์สเกลให้ปากเวอร์เนียร์สัมผัสชิ้นงาน ควรใช้แรงกดให้พอดีถ้าใช้แรงมากเกินไป จะทำให้ขนาดงานที่อ่านไม่ถูกต้องและปากเวอร์เนียร์จะเสียรูปทรง
2.4 ขณะวัดงาน สายตาต้องมองตั้งฉากกับตำแหน่งที่อ่าน แล้วจึงอ่านค่า
3. เมื่อเลิกปฏิบัติงาน ควรทำความสะอาด ชะโลมด้วยน้ำมัน และเก็บรักษาด้วยความระมัดระวัง ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ควรใช้วาสลีนทาส่วนที่จะเป็นสนิม

ข้อควรระวังการใช้ เวอร์เนียร์ดิจิตอล ที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังการใช้ เวอร์เนียร์ดิจิตอล ที่ถูกต้อง

1. ต้องทำความสะอาดและลบคมชิ้นงานก่อนใช้เครื่องมือวัดทุกครั้ง
2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของปาก Vernier ก่อนวัด
3. อย่าวัดชิ้นงานขณะที่ชิ้นงานกำลังหมุนอยู่
4. อย่าวัดชิ้นงานขณะที่ชิ้นงานยังร้อนอยู่
5. อย่าเลื่อนหรือลากปากวัดไป-มา บนชิ้นงาน จะทำให้ปาก Vernier ลึกได้
6. อย่าใช้ปากวัดนอกหรือปากวัดในขีดขนาดงาน เวลาร่างแบบ หรือขณะวัดงาน

การเก็บและบำรุงรักษา เวอร์เนียร์ดิจิตอล

การเก็บและบำรุงรักษา เวอร์เนียร์ดิจิตอล

1. วาง เวอร์เนีย ไว้บนผ้าหรือแผ่นไม้
2. อย่าเก็บ เวอร์เนีย ในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป
3. ถ้าปากวัดนอกหรือปากวัดในเย็น ให้ขัดด้วยหินน้ำมันด้านละเอียด
4. ทำความสะอาดและทาน้ำมันกันสนิมทุกครั้ง ภายหลังการใช้งาน
5. แยกเก็บเวอร์เนียไว้ต่างหาก ห้ามวางปนกับเครื่องมือมีคม
6. ไม่ควรนำเวอร์เนียใส่กระเป๋าหลังของกางเกง อาจทำให้คองอได้

Cr.Qcalibration,Sumipol,