i-Synes.com

ตะกร้า 0

บัตรชิปการ์ด หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด

บัตรชิปการ์ด หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด

บัตรชิปการ์ดเป็นบัตรที่มีการฝังชิปการ์ดขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครชิป (Micro Chip) เอาไว้ที่ด้านหน้าบัตร เมื่อผู้ใช้เสียบบัตรชิปการ์ดเข้าไปใน เครื่องอ่านบัตร ชิปการ์ด แล้ว มันจะสัมผัสกับหัวอ่าน ซึ่งจะทำการส่งถ่ายข้อมูลเข้าและออกจากไมโครชิป (Micro Chip) ไปยังระบบ...


 

หลังจากวันที่ 15 มกราคม 2563 บัตรเดบิต และ บัตรเครดิต ที่เป็นชนิดบัตรแถบแม่เหล็กจะไม่สามารถใช้งานได้ที่เครื่องเอทีเอ็มหรือเครื่องรูดบัตรที่ร้านค้าเพื่อการชำระเงินได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีผู้เปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ดไปแล้วประมาณ 47 ล้านใบ และยังคงมีบัตรแถบแม่เหล็กคงเหลือที่ยังไม่ได้เปลี่ยนอีกประมาณ 20 ล้านใบทั่วประเทศ แล้วทีเรียกว่าบัตรชิปการ์ด หรือที่บางคนเรียกว่า สมาร์ทการ์ด (Smart Card) เป็นอย่างไร เราตามไปดูกัน

บัตรซิมการ์ดมือถือ บัตรเดบิต และ บัตรเครดิต


บัตรซิมการ์ดมือถือ บัตรเดบิต และ บัตรเครดิต
บัตรชิปการ์ด (Chip Card) หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card) คือ บัตรพลาสติคที่ฝังไมโครชิป (Micro Chip) ไว้สำหรับเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ โดยมีให้บริการในรูปแบบบัตรซิมการ์ดมือถือ บัตรเดบิต (Debit Card) และบัตรเครดิต (Credit Card) ฯลฯ ภายในชิปการ์ดมีหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลที่ช่วยให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยเทคโนโลยีในชิปการ์ดนั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน EMV (Europay MasterCard and VISA) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่งเครือข่ายผู้ให้บริการการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตทั้ง ค่าย Visa และ Mastercard

 

บัตรชิปการ์ด ไมโครชิป (Micro Chip)

 

บัตรชิปการ์ด ไมโครชิป (Micro Chip)
บัตรชิปการ์ดเป็นบัตรที่มีการฝังชิปการ์ดขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครชิป (Micro Chip) เอาไว้ที่ด้านหน้าบัตร เมื่อผู้ใช้เสียบบัตรชิปการ์ดเข้าไปใน เครื่องอ่านบัตร ชิปการ์ด แล้ว มันจะสัมผัสกับหัวอ่าน ซึ่งจะทำการส่งถ่ายข้อมูลเข้าและออกจากไมโครชิป (Micro Chip) ไปยังระบบผู้ให้บริการ บัตรชิปการ์ดกำลังเข้ามาแทนการใช้บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic stripe) ได้แก่ ใบขับขี่รถ บัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ ที่กำลังจะยกเลิกการใช้สำหรับการชำระเงินผ่านธนาคาร ชิปตัวเล็กๆ ที่ฝังอยู่ในบัตรนั้นสามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลาย เราจึงไม่จำเป็นต้องถือบัตรหลายใบอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นบัตรส่วนลด บัตรสะสมคะแนนต่างๆ จะถูกเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในหน่วยความจำของชิปอัจฉริยะเพียงตัวเดียว นอกจากจะใช้ทำธุรกรรมเบิกถอน โอน จ่ายเงินได้ตามปกติได้แล้ว ยังสามารถใช้เป็นบัตรโดยสารรถไฟฟ้า (BTS) และสะสมคะแนนแรบบิท รีวอร์ด พ้อยท์ ได้อีกด้วย

 

ชิปการ์ด เก็บข้อมูลได้เยอะ และ ปลอดภัย


ชิปการ์ด เก็บข้อมูลได้เยอะ และ ปลอดภัย
ไมโครชิป (Micro Chip) หรือชิปการ์ด จะทำหน้าที่ต่างจากแถบแม่เหล็ก คือชิปการ์ดนี้สามารถเก็บและประมวลผลข้อมูลในเวลาเดียวกันแต่ในขณะที่แถบแม่เหล็กจะเก็บข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว โดยตัวชิปการ์ดจะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแถบแม่เหล็กที่บัตรชำระเงินทั่วไปถึง 80 เท่า บัตรใบเดียวกันสามารถใช้งานได้ในหลายลักษณะในเวลาเดียวกัน นอกเหนือไปจากนั้นแล้วการใช้บัตรสมาร์ทการ์ดชำระเงินยังเป็นวิธีการที่ให้ความปลอดภัยมากที่สุดระบบชิปการ์ดสามารถป้องกันการถูกโจรกรรมคัดลอกข้อมูลในบัตรฯ (Skimming) และลดอัตราการปลอมแปลงบัตร (Counterfeit Card Fraud) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะทุกครั้งที่เราใช้งานบัตรแบบชิปการ์ดนั้น นอกจากจะต้องทำธุรกรรมผ่านเครื่องที่มีเทคโนโลยีรองรับชิปการ์ดแล้ว เครื่องนั้นยังต้องสามารถเข้ารหัสและถอดรหัสบัตรจากชิปนั้นได้ด้วย จึงจะทำให้ธุรกรรมในแต่ละครั้งสำเร็จ ต่างจากระบบแถบแม่เหล็กที่ทำหน้าที่เพียงแค่อ่านและส่งข้อมูลบัตรไปในทันที

 

บัตรพลาสติค (Plastic Card) ติดปีก ไมโครชิป

 

บัตรพลาสติค (Plastic Card) ติดปีก ไมโครชิป
ขนาดของบัตรชิปการ์ดถูกกำหนดโดยมาตรฐานระหว่างประเทศ คือ มาตรฐาน ISO 7816 Class A,B,C โดยมาตรฐานนี้ยังได้กำหนดถึงคุณลักษณะทางกายภาพของพลาสติคที่นำมาใช้ทำบัตรสมาร์ทการ์ดด้วย เช่น ความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ และความยืดหยุ่นตัวในการใช้งาน ตำแหน่งของหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าและการทำงานของมัน ตลอดจนกำหนดว่าการติดต่อระหว่างไมโครชิป (Micro Chip) กับ เครื่องอ่านบัตร ชิปการ์ด เป็นอย่างไรอีกด้วย


บัตรพลาสติค PVC หรือ บัตรพลาสติค ABS
มีพลาสติกอยู่หลายชนิดที่นำมาใช้ผลิตบัตรชิปการ์ด แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ พีวีซี (PVC) และเอบีเอส (ABS) อย่างไรก็ดี การใช้วัสดุพีวีซีมีข้อดีคือสามารถพิมพ์ลายนูนได้ แต่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น บัตรเครดิต,บัตรเดบิต ฯลฯ ส่วนวัสดุที่เป็นเอบีเอสไม่สามารถพิมพ์นูนได้แต่นำกลับมาใช้งานใหม่ได้ เช่น บัตรประชาชน,ใบขับขีรถยนต์,บัตรพนักงาน,บัตรสมาชิก ฯลฯ

 

บัตรชิปการ์ด ชำระเงินปลอดภัย

 

บัตรชิปการ์ด ชำระเงินปลอดภัย
เนื่องจากข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในชิปการ์ดที่ป้องกันการถูกคัดลอกข้อมูลหรือสกิมมิ่ง และการโจรกรรมข้อมูลจากบัตร ทำให้การคัดลอกข้อมูลทำได้ยากกว่าบัตรแถบแม่เหล็ก นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มรหัสพิน (PIN) จากเดิมที่บัตรแถบแม่เหล็กใช้ 4 หลัก เป็น 6 หลัก เรียกว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล บัตรชิปการ์ดช่วยสนับสนุนในเรื่องการจับจ่ายชำระเงินผ่านเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยเงินสดหรือเครดิต การซื้อหรือชำระค่าบริการเพียงเสียบบัตรกับ เครื่องอ่านบัตร ชิปการ์ด ก็สามารถชำเงินได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยระบบป้องกันข้อมูลมาตรฐานสากล


Cr.Checkraka,วารสาร ไมโครคอมพิวเตอร์,Money Hub,