i-Synes.com

ตะกร้า 0

“ดัชนีความร้อน” อุณหภูมิความร้อน ที่ร่างกายรับรู้จริง

“ดัชนีความร้อน” อุณหภูมิความร้อน ที่ร่างกายรับรู้จริง

ภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปเกิดจากการทำงานใช้แรงงานหรือออกกำลังกายอย่างหนัก ในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง และมีความชื้นในอากาศสูง หรือที่เราเรียกว่า ค่า “ดัชนีความร้อน” ที่สูงเกิน ทำให้ อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อาจเกิดอันตราย...


 

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ปี 2568 เริ่มตั้งแต่วันที่ กุมภาพันธ์ 2568 นี้ และสิ้นสุดลงประมาณกลางเดือน พฤษภาคม 2568 คาดว่า ตลอดปี 2568 อากาศร้อนน้อยกว่าปี 2567 รวมถึงปีนี้อาจยังมีปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งทำให้มีฝนมากว่าปกติโดยอยู่ที่ 10 - 40 % ของพื้นที่ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีฝนและความชื้นในอากาศสูง ก็ช่วยบรรเทาความร้อนและลด “ดัชนีความร้อน” ลงมาได้บ้าง อย่างไรก็ตามยังมีอีก 14 จังหวัด ที่มีโอกาสอุณหภูมิสูงกว่า 42 องศาเซลเซียส ได้แก่ 1.แม่ฮ่องสอน, 2.อุตรดิตถ์, 3.หนองคาย, 4.ตาก, 5.สุโขทัย, 6.อุดรธานี, 7.เชียงใหม่, 8.พิษณุโลก, 9.หนองบัวลำภู, 10.ลำพูน, 11.เลย 12.ขอนแก่น, 13.ลำปาง และ จ.ชัยภูมิ จึงควรระวัง โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)
ภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนัก ในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง และเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง หรือที่เราเรียกว่า ค่า “ดัชนีความร้อน” ที่สูงเกิน ทำให้ อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่นสมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ ค่าชี้วัดความร้อน ที่เราได้ยินบ่อย นั่นคือ “ดัชนีความร้อน” จากการ รายงานสภาพอากาศ ของหน่วยงานต่างๆ ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา นอกจากรายงาน บอกตัวเลข อุณหภูมิอากาศ ในแต่ะช่วงของวัน หลายคนสงสัยคำว่า “ดัชนีความร้อน” ผ่านๆ มา คำนี้ มีความหมายแท้จริง ว่าอย่างไรกันบ้าง ?

 

ดัชนีความร้อน หมายถึงอะไร ?

ดัชนีความร้อน ต่างจาก อุณหภูมิทั่วไปอย่างไร?
ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index (HI) คืออุณหภูมิที่ “รู้สึก” ได้ในขณะนั้น (real-feel temperature) ว่าอากาศเป็นอย่างไร ตามอุณหภูมิและค่าความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งแตกต่างจากค่าอุณหภูมิทั่วไป ที่วัดค่าความร้อนในพื้นที่นั้นๆ ตัวแปรสำคัญของ ดัชนีความร้อน คือ ‘ความชื้นสัมพัทธ์’ ในอากาศ ที่ทำให้การรับรู้อุณหภูมิของร่างกายแตกต่างกันไป แม้วัดอุณหภูมิได้ค่าเดียวกันก็ตาม ซึ่ง ความชื้นสัมพัทธ์ คือ ความชื้นที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ และโดยทั่วไป เมื่อร่างกายเรามีความร้อนภายใน หนึ่งในกลไกที่ระบายความร้อนออกจากร่างกายคือเหงื่อ เมื่อในสภาพอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง การระบายเหงื่อของร่างกายทำได้ยากขึ้น และความร้อนถูกกักเก็บอยู่ในบริเวณผิวหนังของร่างกาย ส่งผลต่อความรู้สึกไม่สบายตัว

% ความชื้นในอากาศเท่าไร รู้สึกสบายตัว ?

% ความชื้นในอากาศเท่าไร รู้สึกสบายตัว ?
ความชื้นในอากาศ หรือ ความชื้นสัมพัทธ์” (Humidity) มีบทบาทสำคัญต่อ การระบายความร้อน ในร่างกายมนุษย์ ผ่านทางเหงื่อ หากเราอยู่ใน สภาพแวดล้อม ที่มีอากาศร้อน แต่มี ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ ประมาณ 40-45% ร่างกายจะขับเหงื่อ ให้ระเหยออกมาได้ดี เมื่อมีลมพัดปะทะตัว ก็จะรู้สึกเย็นสบายอีกด้วย แต่หากมากเกินไป เราจะรู้สึกอึดอัด

ความชื้นในอากาศสูง รู้สึกร้อนกว่าปกติ จริงไหม ?

ความชื้นในอากาศสูง รู้สึกร้อนกว่าปกติ จริงไหม ?
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ มีมากถึง 80-90% ขึ้นไป ความชื้นที่หนาแน่นระดับนี้ จะทำให้ร่างกาย ไม่สามารถ ระบายเหงื่อออกได้เป็นปกติ แต่กลับทำให้ เหงื่อออกเป็นหยด จนเปียกชื้นไปตามตัว อุณหภูมิในร่างกาย ก็ไม่ลดลง แถม ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น อีกต่างหาก ระดับความชื้นสัมพัทธ์ ที่สูงขึ้น ส่งผลโดยตรงให้ ค่าดัชนีความร้อน (ร่างกายรับรู้ ความร้อน) สูงกว่า อุณหภูมิที่แท้จริง สามารถหาค่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ได้จาก เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

ค่าดัชนีความร้อน สัมพันธ์กับ ความชื้นในอากาศ

ค่าดัชนีความร้อน สัมพันธ์กับ ความชื้นในอากาศ
ตัวอย่างเช่น เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ มีค่าร้อยละ 40 เท่ากันทั้งสองค่า ณ อุณหภูมิ ที่ 27 องศาเซลเซียส (80 องศาฟาเรนไฮต์) ค่าดัชนีความร้อน จะมีค่าใกล้เคียง อุณหภูมิที่แท้จริง แต่ถ้าพิจารณาที่ อุณภูมิ 43 องศาเซลเซียส (110 องศาฟาเรนไฮต์) ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 40% เท่ากัน ค่าดัชนีความร้อน ที่อ่านได้จะสูงกว่า อุณหภูมิที่แท้จริง คือ 58 °C (136 °F) จึงทำให้ร่างกายมนุษย์ รู้สึกร้อนกว่าปกติ ที่วัดได้จาก เครื่องวัดอุณภูมิจริง เมื่อความร้อนในอากาศสูงขึ้น อาจส่งผลโดยตรงต่อ สุขภาพของมนุษย์ โดยตรง

ดูแลสุขภาพ ดูที่ “ดัชนีความร้อน” แทน อุณภูมิ

ดูแลสุขภาพ ดูที่ “ดัชนีความร้อน” แทน อุณภูมิ
ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา สำหนักข่าวหลายแห่ง รายงานว่า มีประชาชน ได้รับผลกระทบจาก ดัชนีความร้อน ในหลายพื้นที่ ทำให้เกิด โรคลมแดด หรือ Heat Stroke ซึ่งบางรายรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกประกาศเตือน ให้ประชาชนติดตาม การรายงาน ค่าดัชนีความร้อน และ ดูแลตัวเองและสมาชิกในบ้าน ให้ปลอดภัย จากสภาพอากาศ ที่ร้อนระอุ โดยได้แบ่งระดับความรุนแรงของ ค่าดัชนีความร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพไว้ 4 ระดับ ดังนี้

“ดัชนีความร้อน”

ค่าดัชนีความร้อน 27-32 °C
จัดเป็นระดับสีเขียว คือ ระดับเฝ้าระวัง ถ้าทำงานหรือ ออกกำลังกายกลางแจ้ง ท่ามกลางอากาศร้อน ระดับนี้ จะรู้สึกปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ

ค่าดัชนีความร้อน 32-41 °C
จัดเป็นระดับสีเหลือง ระดับเตือนภัย เกิดอาการตะคริว จากความร้อน และ อาจเกิด อาการเพลียแดด ถ้าสัมผัสอากาศร้อน เป็นเวลานาน

ค่าดัชนีความร้อน 41-54 °C
จัดเป็นระดับสีส้ม มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้องและไหล่ ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเป็นลมแดดได้

ค่าดัชนีความร้อน 54 °C ขึ้นไป
จัดเป็นระดับสีแดง ระดับอันตรายมาก เกิดภาวะลมแดด ตัวร้อน ตัวร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง ระบบอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว อาจเสียชีวิตได้ ถ้าสัมผัสอากาศร้อนมาก ติดต่อกันหลายวัน

ดูแลสุขภาพ เมือ “ดัชนีความร้อน” สูงขึ้น

ดูแลสุขภาพ เมือ “ดัชนีความร้อน” สูงขึ้น
ในวันที่ค่าดัชนีอากาศสูงๆ ควรสังเกตอาการตนเองบ่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็น ควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา และน้ำอัดลมนอกจากนี้ อากาศร้อน ยังส่งผลต่อ สุขภาพของสัตว์เลี้ยง อย่างสุนัขและแมว ได้เช่นกัน ดังนั้น เจ้าของสัตว์เลี้ยง ควรงด พาสุนัขและแมว ไปทำ กิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงกลางวัน ให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ร่ม หรือ ในบ้านตลอดเวลา และ เพิ่มปริมาณน้ำ ให้สัตว์เลี้ยง ดื่มน้ำมากขึ้น

Cr.ณภัทรดนัย,NATIONAL GEOGRAPHIC,PSU Broadcast,,เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น