i-Synes.com

ตะกร้า 0

ทำไมความชื้นในอากาศสูง รู้สึกร้อนกว่าอุณหภูมิจริง?

ทำไมความชื้นในอากาศสูง รู้สึกร้อนกว่าอุณหภูมิจริง?

ความชื้นในอากาศมีมากถึง 80-90% ขึ้นไป ทำให้ร่างกายเราไม่สามารถระบายเหงื่อออกได้เป็นปกติ แต่กลับทำให้เหงื่อออกเป็นหยดจนเปียกชื้นไปตามตัว อุณหภูมิในร่างกายก็ไม่ลดลง แถมสูญเสียน้ำมากขึ้นอีกต่างหาก ทำให้เรารู้สึกไม่สบาย ไข้ขึ้นสูง กระสับกระส่าย เหนื่อย อ่อนเพลีย สภาวะอากาศแบบนี้เรียก.


 

“ความชื้นสัมพัทธ์” (Humidity) มีบทบาทสำคัญต่อการระบายความร้อนในร่างกายมนุษย์ผ่านทางเหงื่อ หากเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อน แต่มีความชื้นสัมพัทธ์ ในอากาศต่ำ ประมาณ 40-45% ร่างกายจะขับเหงื่อให้ระเหยออกมาได้ดี เมื่อมีลมพัดปะทะตัวก็จะรู้สึกเย็นสบายอีกด้วย เช่น กาตาร์, คูเวต, บาห์เรน แม้อากาศภายนอกจะร้อนมาก แต่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ การที่เหงื่อระบายออกได้ดีจึงช่วยได้ เนื่องจากคนเราสามารถระเหยความชื้นออกจากผิวหนังได้เป็นจำนวนมากนั่นเอง เรียกอากาศแบบนี้ว่า ร้อนแห้ง

อากาศแบบร้อนแห้ง

อากาศแบบร้อนแห้ง
ร้อนแห้งนั้นเหงื่อออกก็ระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้ร่างกายไม่มีเหงื่อช่วยลดความร้อน และเมื่อเหงื่อไม่มีการไปตากแดดก็ยิ่งอันตรายมากเพราะผิวจะไหม้เอาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นชาวตะวันออกกลางและชาวทะเลทรายจึงสวมใส่ชุดสีเข้มๆคลุมทั้งตัวเพื่อกันแสงแดด และเมื่อคลุมทั้งตัวความชื้นจากเหงื่อก็ไม่ระเหยไปด้วยทำให้ร่างกายไม่ร้อนเกินขีดจำกัด

อากาศแบบร้อนชื้น

อากาศแบบร้อนชื้น
หากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีมากถึง 80-90% ขึ้นไป ความชื้นที่หนาแน่นระดับนี้ จะทำให้ร่างกายเราไม่สามารถระบายเหงื่อออกได้เป็นปกติ แต่กลับทำให้เหงื่อออกเป็นหยดจนเปียกชื้นไปตามตัว อุณหภูมิในร่างกายก็ไม่ลดลง แถมร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้นอีกต่างหาก ในประเทศแถบร้อนชื้น สามารถพบได้บ่อยในแถบเอเชียใต้และอ่าวเปอร์เซีย เช่น ประเทศไทย มีปริมาณความชื้นในอากาศสูง ในช่วงหน้าฝน ประมาณพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถขับเหงื่อของคนเรา ถ้าความชื้นสูงมาก ความสามารถในการขับเหงื่อของเราจะลดลงและทำให้เรารู้สึกไม่สบาย ไข้ขึ้นสูง กระสับกระส่าย เหนื่อย อ่อนเพลีย สภาวะอากาศแบบนี้เรียกว่า อากาศร้อนชื้น

ดัชนีความร้อน & ลมแดด (Heat Stroke)

ดัชนีความร้อน & ลมแดด (Heat Stroke)
ในช่วงปีมานี้หลายคนคงรู้สึกถึงความร้อนของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ขณะที่บ้านเราเป็นอากาศแบบร้อนชื้น ความชื้นในอากาศสูง เริ่มได้ยินคำว่า “Heat Index” หรือดัชนีความร้อนกันมากขึ้น บางคนรู้จักคำนี้มานานแล้วแต่หลายคนอาจพึ่งรู้จักจากการเสนอข่าวของสื่อ ที่เห็นได้จากข่าวหลากหลายสำนักว่าดัชนีความร้อน Heat Index มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนและสัตว์เป็นอย่างมาก ยิ่งคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือผู้ใช้ร่างกายมักเกิดอาการลมแดด (Heat Stroke) กันมากทำให้หมดสติท่ามกลางความร้อนที่เป็นเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิต ยิ่งในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาพบว่าในประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงจัดเกิน 40 องศาเซลเซียสกันหลายพื้นที่ ซึ่งนอกจากรายงานอุณหภูมิอย่างที่เราทราบกัน ยังมีรายงานเกี่ยวกับดัชนีความร้อน Heat Index ที่ร้อนเกินขนาดทะลุ 50 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คืออะไร?


ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คืออะไร?
คืออุณหภูมิที่เรารู้สึกได้ว่าอากาศร้อน ณ ขณะนั้นเป็นยังไง หรืออุณหภูมิที่ปรากฏ ณ ขณะนั้นเป็นยังไง โดยวิเคราะห์หาค่าดัชนีความร้อนในขณะนั้นออกมาเป็นตาราง จากสองตัวแปรหลัก คือ อุณหภูมิ (Temperature) ที่ตรวจวัดได้ และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ (Relative humidity) เพื่อประเมินความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนนั่นเอง กล่าวคืออุณหภูมิที่มนุษย์รู้สึกได้ว่าสภาวะอากาศขณะนั้นร้อนหรือเย็น ซึ่งไม่ตรงกันกับอุณหภูมิที่เกิดขึ้นแต่รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ เช่น หากอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส แต่มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 60 % ในดัชนีความร้อนนี้เราจะรู้สึกว่าอยู่ในอุณหภูมิถึง 56 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความร้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

ตารางดัชนีความร้อน หรือ Heat Index


โดยค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศนี้เองที่มีส่วนโดยตรงให้ค่าดัชนีความร้อนสูงกว่าอุณหภูมิจริง คิดคำนวณง่าย ๆ จะเป็นแบบนี้ สมมติว่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ = 50% ที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ค่าดัชนีความร้อนจะมีค่า 28 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงอุณหภูมิจริง ที่อุณหภูมิ 41 องศาเซลเซียส ค่าดัชนีความร้อนจะมีค่า 58 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิจริง จึงเป็นผลให้เรารู้สึกร้อนกว่าปกติ (ดูรายละเอียดได้จากตาราง)

ความชื้นในอากาศ & ค่าความร้อน

ความชื้นในอากาศ & ค่าความร้อน
ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) โดยปกติมีค่าสูงกว่า อุณหภูมิอากาศจริงเสมอ ซี่งสามารถอ่านค่าได้จาก เครื่องวัดดัชนีความร้อน เพราะมีการคำนวนนำความชื้นในอากาศและอุณภูมิในอากาศ ที่มีผลต่อการระบายความร้อนของร่างกายมาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากถ้าอากาศร้อนแต่ความชื้นสัมพัทธ์กลับสูงขึ้น เหงื่อที่ถูกขับออกมาก็จะไม่ระเหย ร่างกายจะรู้สึเหนอะหนะและร้อนมากกว่าอุณหภูมิจริง แต่ถ้าหากวันไหนที่ความชื้นน้อย เหงื่อจะถูกขับออกมาและระเหยได้ดี ก็ทำให้รู้สึกร้อนน้อยกว่าอุณหภูมิอากาศจริง ซึ่งคนที่มีร่างกายไม่แข็งแรงก็มีผลต่อร่างกายดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด ด้วยการอยู่ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกหนีลมร้อนที่อบอ้าวความร้อนสูง ๆ ไปยังพื้นที่ ทีอุณหภมิต่ำกว่า ลดความเสี่ยงจากการเป็นลมหมดสติได้

ผลกระทบ ดัชนีความร้อนสูง
ผลกระทบ ดัชนีความร้อนสูง
ดัชนีความร้อนหรือความร้อนอาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดผดร้อน ตะคริวแดด เพลียแดด ไปจนถึงภาวะลมแดดหรือฮีทสโตรก (Heatstroke) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลย โดยผลกระทบจากค่าดัชนีความร้อนจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับความรุนแรง

ตารางค่าเฝ้าระวังเตือนภัยผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน Heat Index

  • 27-32 องศาเซลเซียส อ่อนล้า อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะได้ หากมีกิจกรรมการแจ้งอาจเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนได้
  • 32-41 องศาเซลเซียส ตะคริว เพลียแดดหากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานานอาจเกิดภาวะลมแดด Heat Stroke
  • 41-54 องศาเซลเซียส ปวดเกร็ง เพลียแดด หน้ามืด หากทำกิจกรรมต่อเนี่ยงเสี่ยงต่อสภาวะลดแดด Heat Stroke
  • 54 องศาเซลเซียสขึ้นไป เกิดสภาวะลมแดด หรือ Heat Stroke ได้ตลอดเวลา และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

 

วิธีลดความร้อน ลดความชื้น

วิธีลดความร้อน ลดความชื้น
ถ้าเราต้องอยู่กับอุณภูมิที่สูงขึ้น มาพร้อมกับความชื้นในอากาศที่สูง ทำไมเรารู้สึกร้อนกว่าอุณหภูมิอากาศจริง เรามาลองหาวิธีคลายความร้อนกันหน่อย ช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย และ อุณหภูมิรอบตัวเราเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน นอกจากนี้มาหาวิธีลดโลกร้อนกันดีกว่า ที่เป็นปัญหาหลักของชาวโลกเรา

  • ดื่มน้ำเปล่าตลอดทั้งวัน ให้ได้ประมาณ 6-8 แก้ว แต่น้ำจำพวกคาเฟอีนและแอลกอฮอล์นี่ควรงด
  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี ถ้าออกจากบ้านก็ต้องไม่ลืมพกร่มและสวมหมวกเสมอ
  • งดกิจกรรมกลางแจ้งหรือถ้าต้องออกเจอแดด เลือกช่วงที่แดดไม่จัดอย่างช่วงเช้าหรือช่วงเย็น
  • ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องออกบ้านก็ควรพกร่ม น้ำดืม พัดลม แล้วพยายามอยู่ใต้เงาแดด
  • เปิดแอร์ช่วยทำความเย็น แต่ควรล้างแอร์บ่อย ๆ ช่วยลดความชื้นแอร์แล้วยังลดค่าไฟอีกด้วย
  • ลดการใช้ไฟฟ้า เช่น ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้งาน หรือเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
  • หันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการผลิต ลดโลกร้อน
  • คัดแยกขยะด้วยหลัก 3R(Reduce ลดการใช้, Reuse นำกลับมาใช้ซ้ำ, Recycle นำกลับมาใช้ใหม่) ดีต่อใจและโลก
  • ปลูกต้นไม้ ใช้สีทาบ้านกันร้อน ทำให้บ้านเย็นลง ป้องกันความร้อน ช่วยประหยัดไฟให้บ้านในระยะยาว


Cr.นสพ.กรุงเทพธุรกิจ,อินโนเวชั่น เทคโนโลยี,สีเบเยอร์,พันทิป,เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น,