เครื่องสแกนบาร์โค้ด รุ่นไหนดี ?
เครื่องสแกนบาร์โค้ด รุ่นไหนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ร้านค้าปลีกและโรงงานต่าง ๆ สะดวกในการเช็คยอดขายและส่งข้อมูลตัดสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติเพียงแค่สแกนบาร์โค้ด ทำให้เครื่องยิงบาร์โค้ด เป็นที่นิยมในร้านสะดวกซื้อทั่วไป ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ขนส่ง...
เครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า คือได้ถูกเพิ่มความสามารถในการอ่านแท่งบาร์โค้ดด้วยการสแกนบาร์โค้ด แล้วนำไปประมวลผลเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ด้วยคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงจะส่งต่อให้ระบบ ช่วยประสิทธิภาพด้านความรวดเร็วและความแม่นยำในการทำงาน ลดการเกิดข้อผิดพลาดและลดความล่าช้าจากการทำงานโดยแรงงานคนในการพิมพ์ข้อมูลต่างๆเข้าสู่ระบบ
รหัสแท่งบาร์โค้ด
บาร์โค้ด ( Bar Code ) คือ สัญญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขมีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงและการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เพื่ออ่านข้อมูลรายละเอียดสินค้าเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มแป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก การนำเข้าข้อมูลจากสแกนบาร์โค้ดรหัสแถบของสินค้าเป็นวิธีที่รวดเร็วและความถูกต้องแม่นย่ำ ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้ดี การใช้บาร์โค้ดลดเวลาและเพิ่มความรวดเร็วการนำข้อมูลไปใช้งานทันสมัยต่อเหตุการณ์
ประเภทเครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner)
เครื่องสแกนบาร์โค้ดสามารถจัดแยกประเภทได้ตามชนิดของหัวอ่าน ได้แก่ CCD, Laser, Omnidirectional และ Imager โดยจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันในด้านการใช้งาน ดังนี้
เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบ CCD (CCD Scanner)
มีลักษณะเครื่องเป็นตัวปืน มีข้อดีคือสามารถใช้ในงานกลางแจ้งหรือบริเวณที่มีแสงสว่างมากได้ดี แต่ข้อเสียคือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่าน CCD นั้นสามารถยิงได้ในระยะที่ไม่ห่างเกิน 1 นิ้ว แต่เดียวนี้มีแบบชนิด Long Distance CCD สแกนบาร์โค้ดในระยะทางที่ไกลกว่า เครื่องสแกนบาร์โค้ด (Barcode Scanner) รุ่นเก่า เครื่องยิงบาร์โค้ด แบบ Long Distance CCD สามารถสแกนบาร์โค้ดที่กว้างกว่าผิวหน้าของตัวเครื่องได้ ใช้งานได้ง่ายอย่างเหลือเชื่อ แบบ Plug And Play แค่เสียบสาย USB เข้ากับเครื่องคอมก็สามารถเปิดใช้งานได้ทุกโปรแกรมที่มีเคอร์เซอร์กระพริบอยู่ เช่น Notpad, Wordpad, Excel ฯลฯ แถมยังสามารถอ่านแท่งบาร์โค้ดบนมือถือได้อีกด้วย
เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ (Laser Scanner)
เครื่องยิงบาร์โค้ด ชนิดเลเซอร์ มีความแม่นยําและความไวสูง สามารถอ่านได้ในระยะไกลๆ ไม่ต้องแนบกับตัวบาร์โค้ด ใช้งานง่ายเพียงคุณเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านคอมพิวเตอร์ทั่วไป แล้วยิงบาร์โค้ด ข้อมูลจะถูกส่งเข้าโปรแกรมต่างๆ ที่คุณเปิดทิ้งไว้ทันที เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)ชนิดมีทั้งรูปแบบการติดตั้งอยู่กับที่และรูปแบบพกพาเคลื่อนย้ายได้ สามารถอ่านข้อมูลของบาร์โค้ดได้ในระยะที่ห่างค่อนข้างมาก มีหลักการใช้โดยการฉายแสงเลเซอร์ออกเป็นเส้นตรงขนาดเล็กเป็นเส้นเดียวไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ และมีความถี่เดียว ผ่านกระจกให้ไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดแล้วจึงจะสามารถอ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมายังตัวรับแสงได้ หลักการดังกล่าวจึงทำให้เครื่องอ่านชนิดนี้สามารถสแกนบาร์โค้ด รหัสที่มีขนาดเล็กได้ดีและมีประสิทธิภาพ
เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายทิศทาง (Omni directional Scanner)
รุ่นนี้เป็นเครื่องยิงบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ใช้หลักการทำงานเหมือนกับชนิด Laser scanner ต่างกันเพียงแบบเลเซอร์ชนิดนี้ฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายทิศทางตัดกันไปมา เหมือนมีตัวสแกนบาร์โค้ดหลายตัวในเครื่องเดียว อ่านบาร์โค้ดบนสินค้าหลายทิศทาง เหมาะกับการสแกนบาร์โค้ดที่ไม่ได้ทำการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ลักษณะและคุณสมบัติดังกล่าวสามารถช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้ จึงทำให้มีเครื่องอ่านมีราคาที่ค่อนข้างสูง นิยมใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่ต้องการความรวดเร็ว ลดการรอคิวนาน
เครื่องสแกนบาร์โค้ด แบบประมวลผลภาพถ่าย (Imager Scanner)
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด อ่านบาร์โค้ดบนมือถือหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ ด้วยเทคโนโลยี Linear Imaging Scanner อ่านบาร์โค้ดได้ไวมากถึงแม้นบาร์โค้ดจะชำรุดหรือพิมพ์ออกมาไม่ดีพอ ก็สามารถอ่านได้ นอกจากนี้ยัง อ่านบาร์โค้ดในขณะที่ห้องมีแสงสว่างจ้าได้ เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ใช้เทคโนโลยีการประมวลภาพที่ทันสมัย มีหลักการอ่านคือการจับภาพของแท่งบาร์โค้ด แล้วถอดรหัสบาร์โค้ดทันที ทำให้อ่านง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถอ่านระยะที่ไกลกว่ารุ่นอื่น ๆ และที่สำคัญเครื่องอ่านชนิดนี้สแกนบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ แต่ความเร็วในการประมวลผลข้อมูลอาจจะล่าช้ากว่าเครื่องยิงบาร์โค้ดแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย
บาร์โค้ด ลดเวลา ลดคน ลดการผิดพลาด
ก่อนจะมีการนำรหัสบาร์โค้ดมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ร้านค้าปลีก โกดังสินค้าและโรงงานต่าง ๆ ต้องใช้พนักงานป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับของและจำหน่ายออก ตลอดจนใช้พนักงานในการเดินนับสินค้าในโกดัง จากนั้นนำมาหักลบกับยอดขายเพื่อทำบัญชีในการคำนวณสินค้าคงเหลือ มีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองทั้งเวลาและแรงงานคน ทั้งมีโอกาสเกิดความผิดพลาดหรือการทุจริตได้ง่าย ในปัจจุบันการตรวจรหัสสินค้าด้วย เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ให้ประโยชน์อย่างมาก เพราะความสะดวกในการเช็คยอดขายและส่งข้อมูลตัดสต็อกสินค้าโดยอัตโนมัติเพียงแค่สแกนบาร์โค้ด ทำให้เครื่องยิงบาร์โค้ด เป็นที่นิยมในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โกดังสินค้า การขนส่งและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เกิดการพัฒนาบาร์โค้ดจนกลายเป็นเวอร์ชั่น บาร์โค้ด 2 มิติ หรือที่เรียกว่า คิวอาร์โค้ด (QR code)
Cr.ไชยเจริญเทค,True ปลูกปัญญา,P-solution