i-Synes.com

ตะกร้า 0

ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ?

ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ?

แม้ว่าภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ จะมีอาการคล้ายคลึงกับ การเป็นลมหมดสติ แต่ภาวะนี้ กลับมีความรุนแรงมากกว่า และสามารถ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุการเกิด อาการที่บ่งบอกถึง ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และ วิธีป้องกันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำ...


 

หากเราเคยไปเดินเขา เดินป่า หรืออยู่บนตึกสูง ๆ แล้วรู้สึกหายใจลำบาก มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน หรือ หัวใจเต้นถี่เร็วผิดปกติ รู้หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณของ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือภาวะพร่องออกซิเจน จากการมี ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะไม่แสดงอาการ หากปล่อยไว้ โดยไม่หาแนวทางป้องกัน อาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตก็เป็นได้ เรามาหาทางป้องกัน และ เรียนรู้กับภาวะออกซิเจนพร่องนี้กัน

ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร

ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร
สืบเนื่องจากการมีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ เกิดจากร่างกาย มีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypoxemia) จนทำให้เลือด ไม่สามารถนำออกซิเจน ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ส่งผลให้การทำงานของ ระบบร่างกายและสมองบกพร่อง และ แสดงอาการผิดปกติออกมา เช่น ผิวหนังเขียวซีด เหงื่อออกมาก หายใจผิดปกติ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น หากระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลงมาก น้อยกว่าร้อยละ 90 จนอวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุที่ส่งผลต่อ ภาวะพร่องออกซิเจน

สาเหตุที่ส่งผลต่อ ออกซิเจนในเลือดต่ำ
1. รับออกซิเจนน้อยเกินไป (Hypoxic Hypoxia)
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ที่เกิดจากการที่ร่างกายเรา ได้รับออกซิเจนน้อยเกินไป (Hypoxic Hypoxia) ความกดดันของออกซิเจน ในถุงลมปอดลดลง มักเกิดจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง ความกดอากาศที่ลดลง จนทำให้ ออกซิเจนในอากาศเบาบางลง กว่าระดับพื้นราบ
ปริมาณออกซิเจน ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ระหว่างปอดกับ กระแสเลือดลดลง มักเกิดในภาวะที่ ผู้ที่มีอาการปอดแฟบ มีลมในช่องปอด เป็นต้น ออกซิเจนจึงไม่สามารถซึมผ่าน จากถุงลมปอด ไปสู่กระแสเลือดได้สะดวก มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดบวม จมน้ำ เป็นต้น


2. สภาวะของเลือด (Hypemic Hypoxia)
เกิดจากเลือด (Hypemic Hypoxia) ที่ส่งผลให้เกิด ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ มีสาเหตุจากความบกพร่อง ในการนำออกซิเจน ไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โรคโลหิตจาง เกิดการเสียเลือดมาก ร่างกายได้รับยา สารพิษ หรือ ยาเสพติดบางอย่าง ความผิดปกติของเฮโมโกลบิน เป็นต้น


3. การคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia)
สาเหตุจาก การคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia) มีผลต่อ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำได้ อันเกิดจาก ความบกพร่อง ในการไหลเวียนของเลือด เช่น แรงดันเลือด จากหัวใจลดลง จากการเป็น โรคหัวใจล้มเหลว


4. ภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia)
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งมีสาเหตุจาก ภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia) จากการได้รับสารพิษ เข้ากระแสเลือด เช่น แอลกอฮอล์ ควันพิษ ไซยาไนต์ เป็นต้น ผลคือ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่สามารถ นำออกซิเจนไปใช้ได้ โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • Mild Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท
  • Moderate Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท
  • Severe Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท

เช็กอาการ & ความเสี่ยง ออกซิเจนในเลือดต่ำ

เช็กอาการ & ความเสี่ยง ออกซิเจนในเลือดต่ำ
อาการและความรุนแรงของ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ยังขึ้นอยู่กับ ปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น สถานที่ ระยะเวลา อายุ โรคประจำตัว เป็นต้น โดยอาการที่บ่งบอกถึง ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ มีดังนี้

  • ผิวหนังซีด หรือ เป็นสีเขียวคล้ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • วิงเวียน หรือ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • มือเท้าชา
  • มีเหงื่อออกมาก
  • หายใจลำบาก
  • รู้สึกกระสับกระส่าย
  • ตาพร่ามัว มึนงง
  • รู้สึกวูบวาบตามตัว ร้อน ๆ หนาว ๆ

วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ช่วยอะไรได้บ้าง ?

วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ช่วยอะไรได้บ้าง ?
นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการ การรู้สึกตัวลดลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก และ หากปล่อยไว้ก็อาจเกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ และ ร้ายแรงถึงขั้นเข้าสู่ ภาวะโคม่า และอาจเสียชีวิตได้ นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ยังมีผู้ป่วยบางราย ที่ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่เราสามารถตรวจสอบได้ โดยการใช้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อตรวจสอบ ระดับออกซิเจนในเลือด หากพบว่า มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่า 90% ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาในทันที

วิธีป้องกัน ภาวะพร่องออกซิเจน

วิธีป้องกัน ภาวะพร่องออกซิเจน
นอนหนุนหมอนสูง เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือ การรับควันบุหรี่
ดื่มน้ำเปล่า ให้เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ออกกำลังกายเป็นประจำ

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ควรหมั่น ตรวจระดับออกซิเจนในเลือดด้วย เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด เป็นประจำ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเด็กเล็ก ควรหลีกเลี่ยง การอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรือ พื้นที่ที่อากาศเบาบาง เป็นเวลานาน

เป็นลมหมดสติ & ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ?

เป็นลมหมดสติ & ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ?
แม้ว่าภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ จะมีอาการคล้ายคลึงกับ การเป็นลมหมดสติ แต่ภาวะนี้ กลับมีความรุนแรงมากกว่า และสามารถ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุการเกิด อาการที่บ่งบอกถึง ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และ วิธีป้องกันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำข้อมูลเหล่านี้ ไปแชร์และ ใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะเหล่านี้ขึ้น โดยเฉพาะใน กลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

Cr.แอลโคเทค,สิรินาถ เรืองเผ่าพันธ,Allwell Life,เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว,