ค่า Lux (Lx) เหมาะกับ ร้านอาหาร สำนักงาน บ้าน
พื้นที่เตรียมวัตถุดิบ ปรุง ประกอบอาหาร ต้องมีแสงสว่าง> 300 Lux ที่จำหน่ายอาหาร หรือบุฟเฟต์ ต้องมีแสงสว่าง> 215 ลักซ์ ที่ล้าง&เก็บภาชนะ ต้องมีแสงสว่าง> 300 Lx ห้องแช่เย็น&ห้องเก็บอาหารแห้ง มีแสงสว่าง> 100 ลักซ์ ห้องส้วม ต้องมีแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 lux..
ความสว่างแค่ไหนถึงจะพอสำหรับร้านอาหาร ที่ทำงาน หรือ ที่อยู่อาศัย ? คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมพบบ่อยมากในการทำงาน คนส่วนใหญ่จะคิดว่าขอสว่างๆ เอาไว้ก่อน อันที่จริงวิธีคิดก็ไม่ผิดอะไร แต่ความสว่างที่มากเกินไปก็มีผลเสียต่อสายตาเช่นกัน แล้วแค่ไหนถึงจะเหมาะสมในแต่ละพื้นทีใช้งาน เราลองมาวัดค่าความสว่าง (Lx) กัน
วัดค่าความสว่าง ลักซ์ (Lux)
ในการวัดค่าความสว่าง มีหน่วยวัดค่าเป็น Lux (Lx) ซึ่งการวัดค่า ลักซ์ (Lux) ในพื้นที่จะต้องใช้เครื่องมือวัดแสง หรือที่เรียกว่า “Lux Meter” หรือ "Light Meter" โดยเอาเครื่องมือไปวางไว้ใต้จุดกำเนิดแสง จากนั้นเครื่องมือคำนวนค่าความสว่างออกมาเป็นตัวเลข ปัจจุบันสมาร์ทโฟนก็สามารถใช้เป็น เครื่องวัดแสงสว่าง (Light Meter) ได้แล้ว เพียงแค่โหลด application lux meter ที่มีให้เลือกหลายแอปฯ มาใช้ แต่ผลการวัดและการคำนวนค่าความเข้มแสง อาจจะไม่ตรงมากนักแต่ถือว่าพอนำใช้แก้ขัดได้อยู่ แต่ถ้าให้ดีควรมี เครื่องมือวัดแสง เพื่อความแม่นยําจะดีกว่า
ความเข้มแสง (Lx) ที่เหมาะในแต่ละพื้นที
ในแต่ละพื้นที่ทำงาน ความสว่างหรือความเข้มแสงที่เหมาะสมต่างกัน หรือค่า ลักซ์ (Lux) ที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม เช่น ห้องนั่งห้องนอน ห้องอาหาร เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้มีคำแนะนำ ค่า Lux ตัวเลขมาตรฐานที่กำหนดโดยหน่วยงานต่าง ๆ อยู่ สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป อาจจะไม่ต้องซีเรียสกับค่า Lux ซักเท่าไหร่นัก แต่ถ้าเป็น อาคารสำนักงาน หรือ โรงงานอุตสาหกรรม ค่าลักซ์ จะต้องได้มาตรฐานตามที่กฏหมายกำหนด และเดี่ยวนี้สถานที่จำหน่ายอาหาร ก็มีกฎหมายออกประกาศกฎกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร เพื่อให้เหมาะกับลักษณะการประกอบกิจการขายอาหาร
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ค่าความสว่างในร้านอาหาร
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 โดยที่เป็นการสมควร กำหนดค่า ความเข้มของแสงสว่าง ในสถานที่จำาหน่ายอาหารให้ถูกต้องเหมาะสมกับ ลักษณะการประกอบกิจการ เพื่อให้มองเห็นสภาพ สิ่งปนเปื้อน และสีของอาหาร ที่ไม่ผิดไปจากธรรมชาติได้อย่างชัดเจน กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร ณ บริเวณต่างๆ ดังต่อไปนี้
- บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานเตรียมวัตถุดิบ ปรุง ประกอบอาหาร ต้องมีแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์ (Lux)
- บริเวณพื้นที่จำหน่ายอาหาร จัดวางอาหารแบบบริการตนเอง หรือบุฟเฟต์ ต้องมีแสงสว่างไม่น้อยกว่า 215 ลักซ์ (Lux)
- บริเวณพื้นที่ทำการล้าง และเก็บภาชนะอุปกรณ์ ต้องมีแสงสว่างไม่น่อยกว่า 300 ลักซ์ (Lux)
- ห้องแช่เย็น และห้องเก็บอาหารแห้ง ต้องมีแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์ (Lux)
- ห้องส้วม ต้องมีแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์ (Lux)
ติดตั้งหลอดไฟ แบบ แสงธรรมชาติกลางวัน Day Light
ส่วนการติดตั้งหลอดไฟให้ได้ค่าความเข้มของแสงสว่างตามประกาศฯ ต้องใช้หลอดไฟเป็นแบบแสงธรรมชาติกลางวัน หรือ Day Light ที่ได้ มาตรฐาน และติดตั้งที่เหมาะสม ปลอดภัย ส่วนการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ในบริเวณพื้นที่ทั่วไป และบริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานที่ต้องใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน ในสภาพการทำงานปกติ และในช่วงเวลาที่มีแสงสว่าง ตามธรรมชาติน้อยที่สุดเป็นเกณฑ์
เครื่องวัดแสง มาตรฐาน ISO/CIE
การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ต้องใช้ เครื่องวัดแสงสว่าง (Light Meter) ที่ได้มาตรฐาน CIE 1931 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยความส่องสว่าง (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า และก่อนเริ่มการตรวจวัดต้องปรับให้เครื่องวัดแสงอ่านค่าที่ศูนย์ (Photometer Zeroing)
ความเข้มแสงที่เหมาะสม ต่อสุขภาพตา
เห็นได้ว่าค่าลักซ์ (Lux) ความเข้มของแสงสว่าง ตามมาตรฐานนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้งานในบริเวณนั่น หากแสงสว่างน้อยเกินไป ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป เนื่องจากการมองเห็นไม่ชัดเจน ทำให้ต้องเพ่ง ใช้เวลาในการมองรายละเอียดนานขึ้น เกิดความเมื่อยล้าของนัยน์ตา เป็นสาเหตุของอาการปวดตา มึนศีรษะ หรือแสงสว่างมีมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเกิดความไม่สบาย เมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ กล้ามเนื้อหนังตากระตุก วิงเวียน นอนไม่หลับ การมองเห็นแย่ลง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะความเข้มแสงมากเกินไปหรือแสงสว่างน้อยเกินไปล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาด้วยทั้งนั้น
Cr.voicetv,vewalight,เครื่องวัดแสงสว่าง,Light Meter,entech,loungelovers,