เจ้าหนูฮีโร่ “มากาวา” หนูกู้ภัย

หนูให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย มุดเข้าไปสำรวจตามพื้นที่ซากปรักหักพังในกรณี แผ่นดินไหวหรือพายุถล่ม เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ค้นหาไว้บนตัว ประกอบไปด้วยกล้อง ไมโครโฟน และเครื่องส่งสัญญาณ เพื่อช่วยในการระบุตำแหน่งของผู้ประสบภัย....
ในหลายๆ ครั้ง เราใช้สัตว์มาช่วยเหลือภารกิจด้านความปลอดภัย ในการปฏิบัติงานพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขตำรวจในการตรวจดม ตามหาผู้ร้าย หรือหลักฐาน หรือการติดกล้องไว้กับนกพิราบ เพื่อสอดส่องต่างๆ ซึ่งสัตว์น้อยใหญ่พวกนี้ เมื่อปฏิบัติหน้าที่ก็ต้องเสี่ยงชีวิตเช่นกัน โดยล่าสุด ก็ได้มีการมอบรางวัลให้กับหนูกู้ภัย ซึ่งเหรียญทองนั้นจารึกว่า ‘สำหรับความกล้าหาญของสัตว์หรือการอุทิศตนเพื่อหน้าที่’ เจ้าหนูฮีโร่ที่ทำหน้าที่อย่างกล้าหาญด้วยการช่วยชีวิตมนุษย์ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยในวัย 8 ขวบ
หนูกู้ระเบิด “มากาวา (Magawa)”
APOPO องค์กรพัฒนาเอกชนในการกวาดล้างทุ่นระเบิดที่ฝึกฝนหนู “มากาวา (Magawa)” หนูยักษ์แอฟริกา ให้เป็น หนูกู้ระเบิด ระบุว่า หนูมากาวาสามารถดมทุ่นระเบิดและระเบิดอื่น ๆ ในกัมพูชาได้มากกว่า 100 รายการระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ผลงานของมันทำให้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากองค์กรการกุศลด้านสัตวแพทย์ของอังกฤษ The People’s Dispensary for Sick Animal ในปี 2563 ผลงานที่ประจักษ์ สัตว์ฟันแทะตัวนี้สามารถใช้จมูกเคลียร์พื้นที่วางกับระเบิด หรือทุ่นระเบิดบนพื้นที่เทียบเท่ากับสนามฟุตบอล 42 สนามเลยทีเดียว สามารถตรวจพบกับระเบิด 71 รายการและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยังไม่ระเบิดอีก 38 รายการ สามารถค้นหาระเบิดในสนาม ที่เท่ากับขนาดของสนามเทนนิส ได้ในเวลาเพียง 20 นาที ซึ่งทาง Apopo บอกว่า ซึ่งหากใช้ เครื่องตรวจจับโลหะ ใช้เวลานาน 1-4 วันเลยที่เดียว
HeroRAT หนูกู้ภัย ในความทรงจำ
อย่างไรก็ตาม APOPO ได้ประกาศข่าวว่า HeroRAT Magawa ได้เสียชีวิตอย่างสงบแล้ว โดยก่อนหน้านั้นมากาวามีสุขภาพที่ดีและใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ผ่านมากับการเล่นตามปกติ แต่ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มันเริ่มช้าลง งีบหลับมากขึ้นและแสดงความสนใจในอาหารน้อยลงในช่วงวันสุดท้าย มากาวาเพิ่งฉลองครบรอบ 8 ขวบที่ผ่านมา ซึ่งมันเพิ่งเกษียณอายุไปไม่นาน ซึ่งถือว่าเป็น “หนูฮีโร่” ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ APOPO จนถึงปัจจุบัน
หนู “มากาวา” หนูฮีโร่ ของพวกเรา
สำหรับมากาวาเกิดในเดือนพฤศจิกายน 2556 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งโซโคอิเนในแทนซาเนีย ซึ่งได้ถูกฝึกฝนให้เรียนรู้วิธีค้นหาวัตถุระเบิด โดยใช้ประสาทรับกลิ่นอันน่าทึ่ง จากนั้น 3 ปีต่อมาจึงย้ายไปปฏิบัติงานเสียมราฐในกัมพูชา ผลงานของมากาวาสามารถ ช่วยเคลียร์พื้นที่เสี่ยงกับระเบิดในกัมพูชาได้กว่า 225,000 ตารางเมตร ช่วยให้เจ้าหน้าที่กู้ปฏิบัติภารกิจกู้ระเบิดได้อย่างปลอดภัย มากาวาได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ ในฐานะสัตว์เลี้ยงกล้าหาญ เรียกได้ว่าผลงานเทียบเท่าสุนัขฮีโร่ จาก PDSA องค์กรการกุศลด้านสัตวแพทย์แห่งสหราชอาณาจักรเลยทีเดียว
“มากาวา (Magawa)” เจ้าหน้าที่กู้กับระเบิด
ลิลี ชาลลอม โฆษกองค์กร APOPO ในแทนซาเนีย กล่าวว่า ส่วนใหญ่หนูมากาวาชอบกินผลไม้ ผักสด ปลาแห้งตลอดจนกินวิตามินและไฟเบอร์ด้วย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่นำเขาไปออกกำลังกาย โดยการวิ่งบนกระบะทรายและล้อหมุนวันละ 20-30 นาทีอีกด้วย ถามว่าทำไมจึงใช้หนูยักษ์มากู้ระเบิด องค์กร APOPO ให้เหตุผลว่า ก็เพราะขนาดและน้ำหนักของหนูยักษ์แอฟริกา สามารถเดินผ่านพื้นที่ที่วางระเบิดไว้โดยไม่ไปกดชนวนระเบิด จึงทำงานได้เร็วกว่ามนุษย์มาก เจ้ามากาวาวัย ตัวนี้เกิดที่ประเทศแทนซาเนีย เมื่อปี 2556 จากนั้นปี 2559 ย้ายมาอยู่เมืองเสียมราฐ หรือ เสียมเรียบของกัมพูชา โดยตั้งแต่มารับหน้าที่ “ทหารตัวน้อย” เจ้าหน้าที่กู้กับระเบิด แห่ง ประเทศกัมพูชา แทน เครื่องตรวจโลหะ หนูมากาวาได้รับการดูแลอย่างดี ได้กินอาหาร เล่น และออกกำลังกาย พร้อมกับการตรวจสุขภาพทุกวัน
ทีมกู้กับระเบิด ชุดใหม่
APOPO ระบุว่า ขณะนี้มีหนูที่ได้รับการฝึกใหม่ 20 ตัวและถูกส่งถึงกัมพูชาเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อเริ่มออกตรวจจับทุ่นระเบิดแทนเจ้ามากาวาที่เสียชีวิตลง เนื่องจากมรดกของสงครามกลางเมืองที่โหดร้ายของกัมพูชาในปี 2513 และ 2523 ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดกัมพูชา (CMAC) ระบุว่า ยังมีระเบิดที่ยังไม่พบอีกประมาณ 6 ล้านลูก นอกจากกัมพูชาแล้ว องค์กร APOPO ยังทำงานช่วยเก็บกู้ระเบิดอยู่ใน ประเทศอังโกลา ซิมบับเว และโมซัมบิก เพื่อเก็บรอยบาดแผลแห่งสงครามความขัดแย้ง ซึ่งทุกวันนี้ยังมีประชากรโลกมากกว่า 60 ล้านคนใน 59 ประเทศ เสี่ยงภัยกับระเบิดและลูกปืนใหญ่ ที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ โดยเมื่อปี 2561 มีเหยื่อได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากกับระเบิดถึง 6,897 ราย
ภาระกิจใหม่ ทีมช่วยเหลือผู้ประสบภัย
นอกจากนี้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Apopo ยังเพิ่มภาระกิจฝึกหนูให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทำหน้าที่มุดเข้าไปสำรวจตามพื้นที่ซากปรักหักพังในกรณีแผ่นดินไหวหรือพายุถล่ม โดยทำการส่งหนูเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรองรับการค้นหาไว้บนตัว ประกอบไปด้วยกล้อง ไมโครโฟน และเครื่องส่งสัญญาณ เพื่อช่วยในการระบุตำแหน่งของผู้ประสบภัย เมื่อมีการค้นพบผู้รอดชีวิตหนูจะดึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บนตัว ส่งข้อมูลกลับส่วนกลางเป็นการเสร็จสิ้นภารกิจ หนูก็จึกกลับไปที่ฐานเพื่อรับของรางวัลต่อไป ปัจจุบันอุปกรณ์ส่งสัญญาณและติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์เป็นแบบเดียวกับนักดับเพลิงในปัจจุบัน แต่ย่อขนาดและน้ำหนักลง จนมีความกว้างเพียง 10 เซนติเมตร ลึก 4 เซนติเมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ 140 กรัม เพื่อให้หนูกู้ภัยสามารถแบกไว้บนหลัง แล้วเคลื่อนไหวไปมาโดยไม่เป็นภาระ ในอนาคตเราอาจต้องเปลี่ยนความคิด ฝึกหนูให้เป็นหนูฮีโรประจำหน่วยการกู้ภัยพิบัติและหน่วยกู้กับระเบิดแทนคน ที่ทั้งยังปลอดภัยและแม่นยำเทียบเท่าเครื่องมือตรวจจับโลหะ ตรวจวัตถุระเบิดแพง ๆ ใน ปัจจุบัน
Cr.igreenstory,posttoday,องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน,