i-Synes.com

ตะกร้า 0

พบสมบัติยุคกลาง ด้วย เครื่องตรวจจับโลหะ

พบสมบัติยุคกลาง ด้วย เครื่องตรวจจับโลหะ

ลอเรนโซ่ รุยเตอร์ (Lorenzo Ruijter) ผู้ขุดพบขุมสมบัติ เหรียญเงินมีหลายรูปแบบ โดยบางเหรียญผลิตในท้องถิ่น เมื่อต้นศตวรรษที่ 13 และอีกสองเหรียญ มีเครื่องหมายของจักรวรรดิโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ ช่วงปลายทศวรรษที่ 1240 ซึ่งตรงกับช่วงสงคราม ทำไมเจ้าของจึงได้ฝังทรัพย์สินมีค่า...


 

 

พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ (Rijksmuseum van Oudheden) เผยว่า ลอเรนโซ่ รุยเตอร์ (Lorenzo Ruijter) นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ พบขุมทรัพย์ทองคำยุคกลาง ที่มีอายุ 1,000 ปี ด้วย เครื่องตรวจจับโลหะ โดยเหรียญที่มีอายุน้อยสุด อยู่ในช่วงราวปี 1250 แม้ยังเป็นปริศนาว่าเหตุใด สมบัติจึงถูกฝังไว้ แต่พิพิธภัณฑ์ ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงกลางศตวรรษที่ 13 Hoogwoud เป็นศูนย์กลางของ สงครามที่ดุเดือดระหว่างภูมิภาค West Friesland ของเนเธอร์แลนด์ และฮอลแลนด์

พบขุมทรัพย์สมบัติ ยุคกลาง 800 ปีก่อน
พบขุมทรัพย์สมบัติ ยุคกลาง 800 ปีก่อน
นี่คือการค้นพบ เครื่องประดับทองคำ และ เหรียญเงิน ยุคกลางเมื่อ 800 ปีก่อน ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการค้นพบที่หายากมากๆ ซึ่งถูกพบว่าฝังอยู่ในหนองน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงสงคราม Lorenzo Ruijter กล่าวว่า เขาทำงาน ตามล่าหาสมบัติ มาตั้งแต่อายุ 10 ปี (ปัจจุบันอายุ 27 ปี) ซึ่งสมบัติดังกล่าว ขุดพบในปี 2564 ที่เมือง Hoogwoud ซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็ก ทางตอนเหนือ โดยเครื่องมือที่ใช้คือ เครื่องตรวจจับโลหะ (Metal Detector) โดยขุมทรัพย์สมบัติเป็นของสะสม ที่พบประกอบด้วย

 

  • จี้ต่างหูทองคำ 4 อัน
  • แผ่นทองคำเปลว 2 เส้น
  • เหรียญเงิน 39 เหรียญ

เครื่องตรวจจับโลหะ เครื่องมือหาขุมทรัพย์

เครื่องตรวจจับโลหะ เครื่องมือหาขุมทรัพย์
นักประวัติศาสตร์ ลอเรนโซ่ รุยเตอร์ ค้นพบในปี ค.ศ. 2021 ขณะค้นหาด้วย เครื่องตรวจจับโลหะ ในเมืองฮอกวูด (Hoogwoud) ทางตอนเหนือในเวสต์ฟรีสแลนด์ (West Friesland) ตอนนี้นักโบราณคดี ที่พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ (Dutch National Museum of Antiquities) ได้ระบุว่าเป็นสมบัติยุคกลาง


เครื่องประดับ เคาน์เตสแห่งฮอลแลนด์
เครื่องประดับฟุ่มเฟือย อาจเป็นของบุคคล ในยุคกลางที่มั่งคั่งและมีอำนาจ เครื่องประดับทองคำเช่นนี้เป็นของชนชั้นสูงในสังคมเท่านั้น ดังนั้นสิ่งนี้จึงอาจจะเป็นของผู้ที่มีความมั่งคั่งและอำนาจมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ระบุ บางทีอาจจะเป็นของ เคาน์เตสแห่งฮอลแลนด์ (Countess of Holland) เลยด้วยซ้ำ

เหรียญเงิน จาก จักรวรรดิโรมัน
เหรียญเงิน จาก จักรวรรดิโรมัน
ลอเรนโซ่ รุยเตอร์ (Lorenzo Ruijter) ผู้ขุดพบขุมสมบัติกล่าวว่า เหรียญเงินมีหลายรูปแบบ โดยบางเหรียญผลิตในท้องถิ่น เมื่อต้นศตวรรษที่ 13 และอีกสองเหรียญ มีเครื่องหมายของจักรวรรดิโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ ลอเรนโซ่กล่าว เหรียญที่ใหม่สุดมาจาก ช่วงปลายทศวรรษที่ 1240 ซึ่งตรงกับช่วงสงคราม ที่อาจจะอธิบายได้ว่า ทำไมเจ้าของจึงได้ฝังทรัพย์สินมีค่าเหล่านี้ไว้

ทองคำ ขุมทรัพย์แห่ง รัฐเวสต์ฟรีสแลนด์
ทองคำ ขุมทรัพย์แห่ง รัฐเวสต์ฟรีสแลนด์
เหรียญที่ใหม่สุดมาจากปี ค.ศ. 1247 หรือ 1248 ซึ่งใกล้เคียงกับการต่อสู้หลายครั้ง ระหว่างชาวนาอิสระ ที่เพาะปลูกในบริเวณดินแอ่งน้ำ ในรัฐเวสต์ฟรีสแลนด์ ที่เคาน์เตสแห่งฮอลแลนด์ อ้างสิทธิ์ในดินแดนบริเวณนี้ ในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งและ สงครามอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ หากต้องการที่จะปกป้องสินค้าและเงิน ส่วนใหญ่มักจะฝังลงดิน นักโบราณคดี ที่พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ ยังคงตรวจสอบชิ้นส่วนทองคำ เพื่อระบุว่าเมื่อใดและที่ไหน ที่พวกเขาสร้างขึ้นมา แต่การแกะสลักบนสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องปกติของพื้นที่เวสต์ฟรีสแลนด์ ลอเรนโซ่กล่าว

ทองคำ คุณค่าทางจิตใจ ประเมินค่ามิได้
ทองคำ คุณค่าทางจิตใจ ประเมินค่ามิได้
วัตถุที่เป็นของคนในสังคมชั้นสูง อาจจะเป็นกษัตริย์หรือเคานต์ แอนมาเรียเก้ วิลเล็มเซ่น (Annemarieke Willemsen) ผู้ดูแลของสะสมยุคกลาง ที่พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า น่าเสียดายที่เราไม่รู้เลยว่า พวกมันมีค่าแค่ไหน เพราะเราไม่มีอะไรจะเทียบพวกมันได้ เราไม่รู้ว่าพวกมัน มีค่าทางจิตใจหรือไม่ เป็นการยากที่จะทราบว่า มีวัตถุเหล่านี้ มีอยู่กี่ชิ้นในช่วงเวลานั้น เนื่องจากทองคำเป็นวัสดุนำมาใช้ใหม่ จำนวนมาก และอะไรก็ตามที่ไม่ได้ฝังไว้ จะถูกหลอมละลายหลายครั้งหลายหน

สมบัติยุคกลาง ของที่หายากมาก
สมบัติยุคกลาง ของที่หายากมาก
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม สมบัติยุคกลางของจริง จึงเป็นของที่หายากมาก ลอเรนโซ่ กล่าวว่า ตื่นเต้นจนตัวสั่น และเล่าถึงช่วงเวลาที่ขุมทรัพย์ทองคำ และเงินชิ้นแรกขึ้นมา ซึ่งไม่อยากเชื่อเลย หลังจากค้นหามาหลายปี โดยเครื่องมือที่ใช้ค้นหาทรัพย์สินมีค่าเหล่านี้ด้วย เครื่องตรวจจับโลหะ (Metal Detector) มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะพบสิ่งที่สำคัญและหายากเช่นนี้


Cr.Reuters,ประชาชาติธุรกิจ,คีพดูอิง (Keepdoing),